ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ : บทบาทประเพณีที่มีต่อชาวสุรินทร์ในปัจจุบัน

สารภี ขาวดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรภาษาไทยและการสื่อสาร สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี )

 

ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ : บทบาทประเพณีที่มีต่อชาวสุรินทร์ในปัจจุบัน

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของ ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ที่มีต่อชาวสุรินทร์ในปัจจุบัน โดยผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่าการดำรงอยู่ของประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ สัมพันธ์กับการมีหน้าที่รับใช้สังคม ผู้วิจัยเก็บข้อมูล 2 แหล่ง คือ เอกสาร และลงพื้นที่ภาคสนามประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ของจังหวัดสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2555-2559 เพื่อสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ผู้ร่วมงาน และนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ มีบทบาทต่อชาวสุรินทร์ในปัจจุบัน 4 ประการ ได้แก่ บทบาทในการรวมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งเดียว บทบาทในการให้ความบันเทิงแก่ผู้ร่วมงาน บทบาทในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประจำเดือนสิบของจังหวัดสุรินทร์ และบทบาทในการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม และกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

 

คำสำคัญ: ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ บทบาท
 

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์: การประกอบสร้าง และบทบาทของประเพณีประดิษฐ์  ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก “ทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับบัณฑิต” บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2559 โดยมีศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

 

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 2)