พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” : การสืบทอดและการสร้างสรรค์วรรณคดีชาดกในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย

ณัฐกาญจน์ นาคนวล (อาจารย์ ดร. ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

 

พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” : การสืบทอดและการสร้างสรรค์วรรณคดีชาดก ในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย

 

 

บทความนี้ศึกษา พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะเรื่องเล่าทศชาติชาดกในสังคมไทยร่วมสมัย โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการสืบทอด และการสร้างสรรค์ ทั้งด้านเนื้อหา แนวคิด กลวิธีการเล่าเรื่อง และรูปแบบการนำเสนอ ผลการศึกษาพบว่า พระราชนิพนธ์พระมหาชนก แสดงให้เห็นการสืบทอดเนื้อหา และแนวคิดทั้งจากวรรณคดีชาดก วรรณคดีพระพุทธศาสนา และวรรณคดีคำสอน โดยนำขนบวรรณคดีมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทสังคม และผู้เสพ มีการสร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่องด้วยการดัดแปลง และเปลี่ยนเนื้อหาตอนจบ โดยใช้รูปแบบหนังสือภาพประกอบเรื่องในการนำเสนอ กล่าวได้ว่า พระราชนิพนธ์พระมหาชนกแสดงให้เห็นกระบวนการการสืบทอด และสร้างสรรค์ในวัฒนธรรมทศชาติชาดก เป็นชาดกประจำรัชสมัยในรัชกาลที่ 9 และเป็นวรรณคดีชาดกสมัยใหม่ อันยืนยันการดำรงอยู่ของเรื่องเล่าทศชาติชาดกได้อย่างชัดเจน

 

คำสำคัญ: พระมหาชนก, วรรณคดีชาดก, วรรณคดีชาดสมัยใหม่

 

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตเรื่อง “เรื่องเล่า
ทศชาติชาดก: การสืบทอดในสังคมไทยร่วมสมัย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ อาจารย์ ดร. น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำอันมีค่ายิ่งไว้ ณ โอกาสนี้

 

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 2)