ชมสาร อ่านศิลป์ : ลักษณะเด่นและความสำคัญของวรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

 

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับศิลปะแขนงอื่นลักษณะหนึ่งที่ปรากฏในสังคมไทยมาช้านาน คือการสร้างและนำเสนอวรรณคดีกับทัศนศิลป์ประกอบคู่กัน อันทำให้ผู้ชมได้รับรสจากศิลปะ 2 แขนงพร้อมกัน คือรสจากวรรณศิลป์และทัศนศิลป์ เช่น โคลงภาพรามเกียรติ์ที่วัดพระเชตุพน โคลงภาพสุภาษิตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ร้อยกรองจารึกลับแลประทีปที่บางปะอิน โคลงภาพพระราชพงศาวดารในสมัยรัชกาลที่ 5 และร้อยกรองจารึกอนุสาวรีย์ผู้วายชนม์ วรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ดังกล่าวนี้เป็นวรรณคดีกลุ่มหนี่งที่น่าสนใจนำมาศึกษา เนื่องจากรังสรรค์ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษ คือเพื่อใช้คู่กับทัศนศิลป์โดยเฉพาะ ทั้งยังปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของทัศนศิลป์นั้นด้วย วรรณคดีกลุ่มนี้จึงน่าจะมีลักษณะพิเศษและบทบาทความสำคัญที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างวรรณคดีกับศิลปะแขนงอื่นในอีกมิติหนึ่ง บทความนี้จึงจะมุ่งศึกษาลักษณะเด่นของวรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ดังกล่าว ทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ และศิลปะการประพันธ์ รวมทั้งศึกษาความสำคัญและคุณค่าของวรรณคดีกลุ่มดังกล่าว

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)