การศึกษาอุปลักษณ์ “ขวัญ” ในบทสูตรขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไท–ญ้อ จังหวัดสกลนคร

ประชารัตน์ เผ่าบุญเกิด

 

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปภาษาที่เป็นอุปลักษณ์ “ขวัญ” ในบทสูตรขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ญ้อจังหวัดสกลนคร ตามแนวทางการศึกษาของทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน โดยการเก็บรวบรวมบทสูตรขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไท- ญ้อ ในตําบลพังขว้าง อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ดังนี้ สูตรขวัญคนป่วย สูตรขวัญเล้า สูตรขวัญข้าว สูตรขวัญวัวควายสูตรขวัญนาค สูตรขวัญแต่งงาน ผลการวิจัยพบว่า รูปภาษาที่เป็นอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ “ขวัญ” ในบทสูตรขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ญ้อ มี 4 ประเภท ได้แก่ (1) อุปลักษณ์ที่แสดงประเภทของร่างกาย (2) อุปลักษณ์ที่แสดงประเภทของพืช ต้นไม้ (3) อุปลักษณ์ที่แสดงประเภทของสัตว์ (4) อุปลักษณ์ที่แสดงประเภทของบุคคลอันเป็นที่รัก ทําให้เห็นว่ามีอุปลักษณ์จากรูปภาษาและความเชื่อ

 

ประเพณีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาอย่างมั่นคงของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ญ้อ รวมถึงการใช้ภาษาถิ่นในบทสูตรขวัญนั้น ทําให้เห็นว่ามีการปรากฏคําว่า “ขวัญ” มาใช้กับสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจําวัน นํามาถ่ายทอดเป็นรูปภาษาตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงดํารงไว้ทั้งเรื่องความเชื่อและวัฒนธรรมที่มีการสืบสานสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามจนกระทังถึงปัจจุบันนี้

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "ความเชื่อ เรื่องเล่า ตำนาน กับชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขง" ระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2559 ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)