ความสัมพันธ์ของภาษากับวรรณกรรมในวรรณกรรมทักษิณศึกษา

ศาสตราจารย์ ดร.ดวงมน จิตร์จำนงค์

 

ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมทุกวัฒนธรรม ภาษาเป็นแหล่งสั่งสมการเลือกเฟ้นและกำหนดสายตาในการมองโลก ชีวิต และระบบความสัมพันธ์ต่างๆ พลวัตในด้านความหมายของภาษาดำเนินไปด้วยความสืบเนื่องของการพินิจพิจารณาของบุคคล ทั้งที่แยกส่วนและกระทำร่วมกันในสังคม วรรณกรรมในฐานะสิ่งสร้างสรรค์ทางปัญญาและอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล กำเนิดขึ้นเพื่อส่ง-รับสารอันเห็นว่าสำคัญแก่ผู้อื่น โดยอาศัยความเข้าถึงพลวัตของภาษาและบริบททางวัฒนธรรม  ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความเติบโตและ/หรือเสื่อมทรุดทางภูมิปัญญาของสังคม ทั้งด้านการอนุรักษ์ การสร้างใหม่ หรือแม้แต่ปฏิกิริยาต่อปัญหาและทางออก

 

ความใส่ใจต่อความสัมพันธ์ของภาษากับวรรณกรรมในบริบททางสังคมวัฒนธรรม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในวรรณกรรมทักษิณศึกษาเพื่อคุณภาพในการเข้าถึงลักษณะเด่นในรากทางภูมิปัญญา และปฏิสัมพันธ์กับงานในภูมิภาคอื่นอันมีส่วนในการสร้างงาน

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วรรณกรรมทักษิณศึกษา: อดีต ปัจจุบัน อนาคต" ระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2560 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรุงเทพฯ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี)