ความหลากหลายและประสานกลมกลืนของวัฒนธรรมภาคใต้

บุญชวน บัวสว่าง

 

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา กระทรวงวัฒนธรรม

 

 

คำว่า “วัฒนธรรม” ได้มีผู้รู้ นักวิชาการ ตลอดจนองค์การยูเนสโกได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ยากต่อการทำความเข้าใจของบุคคลทั่วไป ในฐานะบุคคลที่ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม จึงอยากจะให้ความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” แบบที่เข้าใจง่าย โดยขอยกคำจำกัดความของ นายแพทย์ประเวศ วะสี  ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ คือ “วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตของกลุ่มชนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ” จากข้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า คำว่า วัฒนธรรม มาจาก 2 คำ คือ วัฒนะ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง (วิวัฒนาการ) และ ธรรมะ หมายถึง ธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมจะต้องเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของสภาพแวดล้อม

 

วิถีชีวิต ในความหมายของวัฒนธรรม หมายถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยสี่ ความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและวรรณกรรม ดนตรีนาฏศิลป์ ตลอดจนศิลปะและภูมิปัญญา จากความแตกต่างในหลายมิติของมนุษย์ ไม่ว่า วิถีชีวิตและความเชื่อทำให้มนุษย์เรามีความแตกต่างในการดำรงชีวิตและความเชื่อ ทั้งนี้กลุ่มชนต่าง ๆ มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน จึงมีการผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้นในสังคม ซึ่งเรียกว่า ดำรงอยู่แบบสังคม “พหุวัฒนธรรม”

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "บุหงารำไป: ความหลากหลายและประสานกลมกลืนของวัฒนธรรมภาคใต้" ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา กระทรวงวัฒนธรรม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ)