บุหงารำไป: ความหลากหลายและประสานกลมกลืนของผู้คนและวัฒนธรรมในน่านทะเลใต้

รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

 

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

น่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นน่านน้ำที่เชื่อมความสัมพันธ์ของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกสืบเนื่องเป็นเวลาช้านานจากอดีตถึงปัจจุบัน ในทางกายภาพน่านทะเลนี้อาจเพียงเป็นส่วนหนึ่งของผืนทักษิณสมุทร (Southern Ocean) อันถูกนับเนื่องเป็นหนึ่งในสี่ของมหาสมุทรที่ปกคลุมผืนโลก แต่ในมิติด้านการค้า คมนาคม และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหว น่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไร้พรมแดนที่ชัดเจนด้วยค่าที่เป็นน่านน้ำที่ติดต่อกับทะเลและมหาสมุทรที่มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานและอาศัยติดต่อสัมพันธ์ คลุมบริเวณจากผืนทวีปแอฟริกาตะวันออกถึงแผ่นดินจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีในซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิกฟิก การจะเข้าใจภูมิหลังความเป็นมาของปัจจุบันแห่งความสัมพันธ์ระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจความสำคัญของน่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คน และอารยธรรมที่ถือกำเนิดบนผืนน้ำแห่งนี้

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "บุหงารำไป: ความหลากหลายและประสานกลมกลืนของวัฒนธรรมภาคใต้" ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา กระทรวงวัฒนธรรม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ)