ผ้าทอไทลื้อ: คือชีวิตและศรัทธา

รองศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล

 

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

วัฒนธรรมการทอผ้าเพื่อประดิษฐ์เป็นเครื่องแต่งกาย ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรม เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของผู้หญิงไทลื้อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสามารถในการสร้างสรรค์ผืนผ้า ทั้งการเลือกวัสดุ การย้อมสี เทคนิคการทอ และลวดลายที่มีความหมายในชุมชนไทลื้อแต่ละแห่ง คือผลงานทางศิลปะอันประณีตและเปี่ยมด้วยคุณค่า

 

การทอผ้าของผู้หญิงไทลื้อมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการสะสมสร้างบุญด้วยความศรัทธา ด้วยการทอผ้าถวายให้พระสงฆ์เพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ และถวายเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ลวดลายที่ปรากฏบนผ้าทอบางชนิด เช่น ตุง ผ้าเช็ดหลวง ยังเป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ที่สืบทอดมาจากความเชื่อดั้งเดิมในการนับถือผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติต่างๆ อีกด้วย

 

ผ้าทอไทลื้อจึงผูกพันกับชีวิตและศรัทธา และเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ควรได้รับการศึกษา อนุรักษ์ และส่งเสริมให้สืบเนื่องต่อไป

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "ผ้าทอในวิถีชีวิตไทย-ไท" ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด  จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)