ผ้าและการแต่งกายของกลุ่มไทบ่งบอกภูมิลำเนาของชุมชน

Patricia Cheesman

 

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

เหตุผลหนึ่งที่กลุ่มไทปกครองพื้นที่กว้างในทวีปเอเชียอาคเนย์ได้คือความกตัญญูที่มีต่อชุมชน ความหลากหลายของผ้าไท แบบต่างๆ แสดงถึงเอกลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ และเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วโลกเพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 

ระบบการจำแนกผ้าและการแต่งกายของคนไทโบราณแบบชาติพันธ์วิทยาไม่คำนึงถึงการอพยพ การแต่งงานต่างกลุ่มชาติพันธ์ และประวัติศาสตร์ หรือภูมิลำเนาของชุมชน

 

อีกมุมหนึ่งระบบการจำแนกผ้าและการแต่งกายของคนไทตามชุมชนเป็นระบบที่เชื่อถือได้ ในการวิจัยและการเก็บบันทึก ระบบนี้อธิบายชัดเจนถึงการใช้ผ้าและการแต่งกายที่เหมือนกัน แม้แต่ชาติพันธ์จะต่างกัน เพราะอยู่ในชุมชนเดียวกัน นอกจากนั้นระบบนี้ยังช่วยพิสูจน์เอกลักษณ์ ภูมิลำเนาดั้งเดิมของกลุ่มไทที่ย้ายถิ่นฐานระบบนี้ก็ได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายและการใช้ผ้าของกลุ่ม หรือบุคคลที่ย้ายไปอยู่ชุมชนใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเลิกใช้แบบเก่า เพื่อรับแบบใหม่ของชุมชน  ซึ่งไม่ใช่การรับอิทธิพลแค่บางส่วน

 

การบรรยายนี้จะกล่าวถึงชุมชนไทที่มีเอกลักษณ์เจาะจง เป็นผลสรุปจากการวิจัยในพื้นที่กว่า 35  ปี ซึ่งจะอธิบายถึงระบบแม่แบบชุมชนและสาธิตว่าวิวัฒนาการของผ้าไท ได้เกิดจากระบบเศรษฐกิจ สังคมและการปกครองของชุมชนไม่ใช่มาจากชาติพันธ์วิทยา นักวิจัยสามารถนำระบบนี้ไปใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของผ้าไทในอดีต

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "ผ้าทอในวิถีชีวิตไทย-ไท" ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด  จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)