พิธีกรรมการเยียวยารักษาจากข้อมูลในตำราการทำนายกระดูกไก่

ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และ ดร.เชิดชาติ  หิรัญโร

 

สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

 

 

การใช้สัตว์เพื่อการทำนายเกิดขึ้นในวัฒนธรรมทั่วโลกมีความหลากหลายวิธีการและรูแบบ การใช้กระดูกเป็นส่วนหนึ่งของระบบการทำนายเช่นกัน ในประเทศจีนการช้กระดูกสัตว์เป็นเครื่องมือในการทำนายด้วยการเผาไฟแล้วเขียนตัวอักษรไปตามรอยแตก ต่อมามีการใช้กระดูกนี้ในการทำสวนผสมของยา เรียกว่ากระดูกมังกร  การใช้กระดูกสัตว์ทำนายโชคชะตามีกระดูกหลายส่วนที่ใช้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาจากตำราการทำนายด้ยกระดูกขาไก่ ในส่วนความเจ็บป่วยและการเยียวยา จากตำราของกลุ่มคนปลัง(ไตหลอย/ลัวะ/ข่าสี่แสนหอนม้า) เป็นตำราสามฉบับจากสามพื้นที่ คือ บ้านห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และในประเทศสหภาพเมียนมาอีกสองหมู่บ้านคือ บ้านแยก เมืองเชียงตุง รัฐฉาน บ้านหนองหลวง เมืองม้า เขตปกครองตนเองที่ 4 เมืองลา รัฐฉาน การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีทางเอกสารโดยการปริวรรต ตำราทั้งสามและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการระบบข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบรูปร่างตัวทายและคำทาย การวิเคราะห์งานวิจัยด้วยกรอบแนวคิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมของ Henri Lefedvre

 

ผลการศึกษาพบว่าความเจ็บป่วยและพิธีกรรมการเยียวยารักษาจากข้อมูลในตำราการทำนายกระดูกไก่นั้นมีความแตกต่างกันทั้งสาเหตุจากการเจ็บป่วยและการเยียวยาที่ปรากฏในสามตำรา ทั้งนี้เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมที่มีระดับพัฒนาการแตกต่างกันสามแบบ ตำราบ้านแยกนั้นเป็นกลุ่มคนที่อยู่ระหว่างสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์กับสงคมเกษตรกรรมแบบไรหมุนเวียนจะมีเพียงเลี้ยงผีและเรียกขวัญ ส่วงหนองหลวงนั้นเป็นสังคมที่อยู่นะหว่างสังคมเกษตรไร่หมุนเวียนกับการเริ่มต้นรับศาสนาพุทธ จะมีพิธีพิธีทำบุญและส่งเคราะห์ และห้วยน้ำขุ่นนั้นเป็นสังคมเมือง จะเป็นพิธีบวงสรวงในระดับเมือง

 

*บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาโครงการวิจัย PLANG Ethnic Group Cultural Space Comparison of the chicken bone manuscript from three villages in Chiang Rai and Shan State Myanmar) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สภาวิจัยแห่งชาติ(วช) และสำนักงานกองทุนสสนับสนุนการวิจัย(สกว) ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย Human-Chicken Multi-Relationships Research Project-H.I.H Prince Akishino’s Research under the Royal Patronage of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn (HCMR  II)

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)