รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมล้านนา

พระนคร ปัญญาวชิโร (ปรังฤทธิ์)

 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

 

 

ชาวล้านนามีโลกทัศน์ว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายกับจิตใจ ทั้ง 2 ส่วนนี้ ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังจะเห็นได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกส่วนหนึ่ง กระบวนการดูแลรักษาสุขภาพของชาวล้านนาจึงไม่อาจแยกส่วนในการดูแลรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่ใช้วิธีดูแลรักษาทั้งร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป เรียกว่า การดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม  รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพล้านนาจึงมีหลากหลายรูปแบบที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตใจ ได้แก่ 1. การดูแลรักษาด้วยสมุนไพร  2. การดูแลรักษาด้วยการควบคุมพฤติกรรมการกินและความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกับอาการของโรคและคติความเชื่อท้องถิ่น  3. การดูแลรักษาด้วยการนวด 4. การดูแลรักษาด้วยพิธีกรรม 5. การดูแลรักษาด้วยธรรมะและคำสอนตามคติท้องถิ่น รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพล้านนาดังกล่าว ยังได้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับอำนาจเหนือธรรมชาติ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)