ฮูปแต้มฮิมโขง: การสร้างสรรค์และบริบททางวัฒนธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิษฐ์ กอบบุญ  

 

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

บทความวิจัยนี้ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในวัดริมแม่น้ำโขง โดยมีสมมติฐานว่าจิตรกรรมริมโขงจะสะท้อนความสัมพันธ์เชิงความคิดและวัฒนธรรมระหว่างไทย ลาว และญวน วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือการทำความเข้าใจสารัตถะ และบริบททางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์  ผลการศึกษาพบว่าจิตรกรรมในพื้นที่ศึกษามีเนื้อหาทางพุทธศาสนาเป็นแกนหลักคือเรื่องพระเวสสันดร ลักษณะของภาพคือการสร้างความหมายที่สื่อสารได้ในระดับชาวบ้านและใกล้เคียงความเป็นจริง เข้าใจง่าย และเป็นอิสระ ทั้งนี้เนื้อหาแสดงออกถึงความคิดและวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น ทิวทัศน์ ประเพณี การประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตามทั้งยังมีสิ่งสำคัญที่ต้องอาศัยการตีความ เช่น ภาพ ตำแหน่งของภาพ องค์ประกอบของภาพ ที่จะต้องตีความเพื่อเข้าใจความคิด วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนริมโขง อันสะท้อนให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมบริเวณนี้

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "ความเชื่อ เรื่องเล่า ตำนาน กับชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขง" ระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2559 ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)