“เมืองต้องคำสาป”: ความทรงจำร่วมของสังคมลำปาง

ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น

 

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

 

 

การสร้างตำนานพระแก้วดอนเต้าโดยมีการผูกเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระแก้วดอนเต้าซึ่งมีนางสุชาดาเป็นตัวเอกของเรื่องและเขียนขึ้นเพื่อรองรับความชอบธรรมให้แก่การเกิดขึ้นของพระแก้วดอนเต้าให้มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของเมืองลำปางมากขึ้น จากเรื่องราวในตำนานได้มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายรุ่นและขยายต่อบูรณภาพทางความคิดของคนในสังคมลำปางจนกลายมาเป็นความทรงจำร่วมเรื่อง “เมืองต้องคำสาป” ซึ่งพบว่าอยู่ในความรู้สึกลึกๆ ของคนลำปางส่วนหนึ่ง   

 

โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่ามีเหตุการณ์ที่ส่งผลร้ายต่อบ้านเมือง และเมืองลำปางไม่ค่อยได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่าที่ควรจะเป็นหรือถูกแย่งชิงความเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบนไปสู่เมืองใหญ่แห่งอื่น ความรู้สึกคับข้องใจจากสภาพที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ความทรงจำร่วมเรื่อง “เมืองต้องคำสาป” ถูกหยิบยกนำมาเป็นคำอธิบายให้แก่สภาพการณ์เหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นได้มีปฏิบัติการลบล้างคำสาปเกิดขึ้นก็ยิ่งเป็นการรื้อฟื้นและตอกย้ำให้ผู้คนเห็นถึงความมีอยู่จริงของความทรงจำร่วมดังกล่าว

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "พลังและพลวัตวัฒนธรรมล้านนา" วันที่ 30 มกราคม 2558 ณ โรงแรมเวียงลคอร จังหวัดลำปาง จัดโดย สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง)