โหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร

อาจารย์สถิตย์ ภาคมฤค

 

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

 

แอ่งสกลนครเป็นพื้นที่ฝั่งฟากหนึ่งของเทือกเขาภูพานโดยมีขอบด้านหนึ่งติดแม่น้ำโขงกางกั้นระหว่างเขตแดนประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในแอ่งกลนครประประกอบด้วย  กลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่เกิดการเคลื่อนย้ายไปมาหลายร้อยปีมาแล้ว กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีการเคารพนับถืออำนาจของดวงดาวว่าสามารถกำหนดวิธีชีวิตของตนเองได้จึงทำให้เกิดการเรียนรู้  ยอมรับ และพัฒนาเป็นโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร โดยผู้เขียนคัดเลือกกลุ่มชาติพันธุ์ในการศึกษาข้อมูลจำนวน 8 กลุ่ม   ชาติพันธุ์ คือ ไทยลาว ไทยโย้ย  ไทยย้อ ผู้ไทย ไทยแสก ไยวน กะเลิง และโซ่ มุ่งศึกษาลักษณะโหราศาสตร์ พบว่า โหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนครจำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มการคำนวณและฤกษ์ กลุ่มการพยากรณ์ และกลุ่มพิธีกรรม โหราศาสตร์เหล่านี้ โหราศาสตร์เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางวัฒนธรรมโดยจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ คุณค่าต่อเอกบุคคลและคุณค่าต่ออเนกบุคคล คุณค่าเหล่านี้ช่วยทำให้เห็นการเข้าไปมีส่วนในดำเนินชีวิตของผู้คนและสังคมจนกลายเป็นสิ่งที่กำหนดให้คนและสังคมต้องเข้าใจร่วมกันและถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ขับเคลื่อนวิถีชีวิตมนุษย์และวิถีทางสังคมให้สามารถก้าวไปได้อย่างมีแนวทางที่เกิดจากการแนะนำแนวทางจากโหราศาสตร์ชาติพันธุ์เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคมสืบต่อกันเรื่อยไป

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "ความเชื่อ เรื่องเล่า ตำนาน กับชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขง" ระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2559 ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)