การถ่ายทอดวรรณคดีชาดกผ่านเพลงพื้นบ้านภาคกลาง:  กลวิธีการถ่ายทอดและความแพร่หลายในสังคมไทย

อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

 

สาขาวิชาภาษาไทย 

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการถ่ายทอดวรรณคดีชาดกผ่านเพลงพื้นบ้านภาคกลาง โดยศึกษาจากเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงปฏิพากษ์ 6 ชนิด ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงพวงมาลัย เพลงทรงเครื่อง เพลงเรือ ลำตัด และเพลงร้องรำพัน 3 ชนิด ได้แก่ เพลงแหล่ เพลงขอทาน และสวดคฤหัสถ์ ผลการศึกษาพบว่าชาวบ้านในภาคกลางรับรู้และถ่ายทอดวรรณคดีชาดกผ่านเพลงพื้น บ้านที่ร้องในเทศกาลและงานประเพณีพิธีกรรมต่างๆ อาทิ ในเทศกาลสงกรานต์ งานประเพณีเทศน์มหาชาติ งานศพ ฯลฯ โดยเรื่องชาดกที่นำมาถ่ายทอดมีทั้งเรื่องชาดกในนิบาต และชาดกนอกนิบาต นอกจากนี้ในการถ่ายทอดเป็นเพลงพื้นบ้านยังสะท้อนให้เห็นมุมมองของชาวบ้านที่ มีใน 2 ลักษณะคือ มองเรื่องชาดกเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ในฐานะประวัติพระพุทธเจ้า และมองเรื่องชาดกเป็นนิทาน ส่วนกลวิธีการถ่ายทอดนั้น จากการศึกษาพบว่ามีการถ่ายทอดเป็น 5 วิธี ไก้แก่ การเล่าพรรณนาเป็นเรื่องนิทาน การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าพรรณนาประกอบการแสดงบทบาทสมมติ การยกตัวอย่างเป็นอุทาหรณ์ และการถามโต้ตอบเพื่อทดสอบปัญญา กลวิธีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการรับรู้วรรณคดีชาดกในสังคมไทยผ่านเพลงพื้นบ้านในหลากหลายมิติ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วัฒนธรรมชาดกในสังคมไทย" ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน–1 กรกฎาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)