นาฏยลีลาร่วมสมัย “พระมหาชนก”: การสืบทอดและการสร้างสรรค์ในบริบทสังคมไทย

อาจารย์ ดร. สุภัค มหาวรากร

 

ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

บทความนี้มุ่งศึกษาการแสดงร่วมสมัย “พระมหาชนก” ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดแสดงเนื่องในงานวันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 24 ในปีพุทธศักราช 2554 ผลการศึกษาพบว่า นาฏยลีลาร่วมสมัยเรื่อง “พระมหาชนก” ดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช การแสดงแบ่งเป็น 3 องก์ องก์ที่ 1 มิถิลานคร องก์ที่ 2 ความเพียรอันบริสุทธิ์ และองก์ที่ 3 ศรัทธาแห่งปัญญาธรรม มีการเล่าเรื่องโดยใช้สื่อ ได้แก่ การเล่นภาพเงาเคลื่อนไหว การแสดงหุ่นละครเล็ก การใช้แอนิเมชั่น การขับบทเสภา และการบรรเลงเพลงประกอบวงดุริยางค์ซิมโฟนีออร์เคสตรา การแสดงนาฏยลีลาร่วมสมัยเรื่อง “พระมหาชนก” ในครั้งนี้แสดงถึงการสืบทอดและรังสรรค์เรื่องชาดกในวัฒนธรรมไทย โดยยังคงเสนอบทบาทสำคัญของพระโพธิสัตว์ผู้ยังคง “เพียรบำเพ็ญบารมีมิหวาดหวั่น” ท่ามกลางสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวตลอดเวลา

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วัฒนธรรมชาดกในสังคมไทย" ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน–1 กรกฎาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)