วรรณกรรมล้านนาในฐานะเอกสารทางประวัติศาสตร์ : กรณีศึกษาเรื่องโคลงมังทรารบเชียงใหม่

Lan Na Literature as Historical Sources: The Case of Mangthra Rop Chiang Mai

 

ศาสตราจารย์ ดร.โฟล์กเกอร์ กราบอฟสกี้

Professor Dr. Volker Grabowsky

 

สถาบันเอเชียแอฟริกันศึกษา มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก

 

 

ผลงานศึกษาและปริวรรตของอาจารย์ สิงฆะ วรรณสัย ที่นับว่ามีความสำคัญมากคือโคลงเรื่อง “มังทรารบเชียงใหม่” วรรณกรรมอันน่าประทับใจเรื่องนี้มีลักษณะเป็นนิราศแห่งล้านนา  พรรณนาถึงการกวาดต้อนคนเชียงใหม่นับพันๆ คนไปสู่เมืองหงสาวดีในประเทศพม่าตอนล่างในช่วงกลาง พุทธศตวรรษที่ 22 หลังจากที่ “มังทรา” คือกษัตริย์พม่า ได้ยกกองทัพมาปราบปรามพวกกบฏที่กล้าท้าทายอำนาจของพม่า  โคลงเรื่อง “มังทรารบเชียงใหม่”นอกจากเป็นกวีนิพนธ์อันงดงามยิ่งแล้วยังเต็มไปด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางด้านการเมือง สังคม และเศรษกิจในแคว้นล้านนาสมัยพม่าปกครองอีกด้วย  ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมาก ถ้าอ่านคู่กับหลักฐานประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย  การบรรยายนี้มีจุดประสงค์ที่จะวิเคราะห์วรรณกรรมล้านนาในฐานะเอกสารทางประวัติศาสตร์ โดยใช้โคลงเรื่อง “มังทรารบเชียงใหม่”เป็นกรณีศึกษา ซึ่งอาจารย์ สิงฆะ วรรณสัยเป็นนักวิชาการคนแรกที่เห็นความสำคัญเมื่อเกือบ 40 ปีก่อนหน้านี้

 

One of the last publications of Achan Singkha Wannsai was his edition of the Northern Thai travel poem Mangthra Rop Chiang Mai (Mangthra’s War against Chiang Mai). This most impressive piece of classical Lan Na literature describes vividly the deportation of people from Chiang Mai to Hongsawadi (Pegu) in lower Burma during the first half of the seventeenth century, following the military suppression of a local uprising by the Burmese king. Besides its poetic qualities, Mangthra Rop Chiang Mai provides many valuable information on the political, social, and economic situation in Lan Na during the early period of Burmese rule when analyzed against the background of fragmented contemporary historical sources. This presentation aims at discussing the value of literary works as historical sources by revisiting a master piece of Lan Na literature which the late Lan Na scholar Singkha Wannasai had brought to our attention for the first time almost fourty years ago.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วรรณกรรมท้องถิ่น : จากวันวานถึงวันหน้า" วันที่ 14 ธันวาคม 2561 ณ โรงแรมแคนทารี่ ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)