สุนทรียะ ศรัทธา และปัญญาไทย : รากฐานและจิตวิญญาณของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

 

– คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

 

 

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเป็นเสมือนภาพแทนของผู้คนในท้องถิ่นภาคกลาง ได้ถ่ายทอดความรู้-ความรู้สึก-นึก-คิด ไว้ครอบคลุมในทุกด้านของการใช้ชีวิต เหตุนี้จึงมีเนื้อหาทั้งวรรณกรรมตำรา วรรณกรรมคำสอน วรรณกรรมศาสนา วรรณกรรมประกอบพิธีกรรม ฯลฯ เพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์ในทุกมิติ บทความนี้จะได้นำเสนอรากฐานของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่สำคัญคือ สุนทรียะ (ความงาม) ศรัทธา (ความดี) และ “ปัญญา” (ความจริง) ที่ถือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ เป็นจิตวิญญาณที่สะท้อนอัตลักษณ์ของการ สุนทรียะคือความประณีตในการนำเสนอทั้งรูปแบบและภาษา ศรัทธาคือการมีพระพุทธศาสนาและความเชื่อเป็นกรอบความคิด ปัญญา คือสรรพศาสตร์ที่ใช้ในการถ่ายทอดทั้งทางตรง (เช่น วรรณกรรมตำรา วรรณกรรมประกอบพิธีกรรม) และทางอ้อม เช่น (เช่น วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมประกอบการแสดง) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานและจิตวิญญาณของบรรพชนภาคกลางที่ใช้ในการสร้างสรรค์วรรณกรรมท้องถิ่น จนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วรรณกรรมท้องถิ่น : จากวันวานถึงวันหน้า" วันที่ 14 ธันวาคม 2561 ณ โรงแรมแคนทารี่ ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)