โคลงเล่นซ่อนหาที่เกาะสีชัง : การเล่นกับภาษาในวันว่าง

สุกัญญา สุจฉายา (ศาสตราจารย์ ประจำหภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

โคลงเล่นซ่อนหาที่เกาะสีชัง : การเล่นกับภาษาในวันว่าง

 

 

     

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการใช้เวลาว่างของคนไทยในอดีตกาล ซึ่งสะท้อนผ่านการเล่นกับสำนวนภาษาที่นับเป็นศิลปะโดดเด่นของคนไทย เป็นกิจกรรมยามว่างที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ไม่จำกัดเพศและชนชั้น สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ ผู้เขียนจึงใคร่นำเสนอ “โคลงเล่นซ่อนหา” สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นการเล่นรวมกันในหมู่เจ้านายที่ได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเกาะสีชัง การเล่นซ่อนหาในคราวนั้นเป็นการเล่นซ่อนหาเชิงกวีนิพนธ์มิใช่การเล่นซ่อนหากันจริงๆ เพียงแต่โคลงบทนั้นๆ จะบอกให้รู้ว่าผู้เล่นกำลังจะพาโคลงไปซ่อนที่สถานที่ใด ดังนั้น ผู้เล่นต้องรู้จักภูมิประเทศและสถานที่ต่างๆ อย่างดี ในการเล่นโคลงซ่อนหาซึ่งมีความยาว 21 บท จะมีผู้เล่น 6 พระองค์คือ 1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2) พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี 3) พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ (กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) 4) พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์) หรือที่เรียกว่าทูลกระหม่อมน้อย 5) พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภา หรือต่อมาคือ เสด็จอธิบดี 6) พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ (กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ) หรือทูลกระหม่อมเล็ก

 

คำสำคัญ: โคลงเล่นซ่อนหา, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เกาะสีชัง

 

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 2)