คณะผู้จัดงาน (การประชุมวิชาการระดับชาติ - “ประคองขวัญวรรณกรรม” พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย)

การประชุมวิชาการระดับชาติ

 
“ประคองขวัญวรรณกรรม”

พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย

 

งานแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ 
ปูชนียบุคคลด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 80 ปี

 

23 สิงหาคม 2562
โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพฯ

 

จัดโดย

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการนามานุกรมวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ของ สกสว.

รายละเอียดโครงการ (การประชุมวิชาการระดับชาติ - “ประคองขวัญวรรณกรรม” พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย)

หลักการและเหตุผล

 

เมื่อปีพุทธศักราช 2533 สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา ได้จัดงานประชุมวิชาการและจัดพิมพ์หนังสือชุดไทยศึกษาเรื่อง “วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ” ขึ้น โดยเชิญนักวิชาการด้านวรรณกรรมท้องถิ่นมานำเสนอและ “พินิจ” วรรณกรรมท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้วงวิชาการสนใจศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

 

กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มีการศึกษาวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นในทิศทางที่หลากหลาย และกว้างขวาง เริ่มมีการขยายความสนใจของการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น สู่การศึกษาบริบทของท้องถิ่น และบริบทของที่มาหรือที่เก็บตัวบท โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางพบว่า การศึกษาวรรณกรรมภาคกลางยังมีข้อถกเถียง มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน และมีข้อคำถามอยู่มากพอสมควร เช่น ภาคกลางไม่มีวรรณกรรมท้องถิ่น มีแต่วรรณกรรมราชสำนัก วรรณกรรมราชสำนักไม่เป็นวรรณกรรมภาคกลาง พรมแดนของวรรณกรรมภาคกลางเป็นอย่างไร วรรณกรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคกลางนับเป็นวรรณกรรมภาคกลางหรือไม่ อัตลักษณ์ของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางคืออะไร ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจ ทบทวน และพินิจใคร่ครวญ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน

 

ด้วยเหตุนี้ คณะผู้จัดงานโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการนามานุกรมวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ของ สกสว. จึงได้ร่วมกันจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “ประคองขวัญวรรณกรรม” พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย ขึ้น เพื่อเป็นเวทีวิชาการในการทบทวนและสร้างความเข้าใจองค์ความรู้ด้านวรรณกรรมท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงวิชาการต่อไป

 

 

วัตถุประสงค์โครงการ

 

1) เพื่อเป็นเวทีวิชาการในการทบทวนและสร้างความเข้าใจองค์ความรู้ด้านวรรณกรรมท้องถิ่น

 

2) เพื่อนำเสนองานวิจัยและแนวทางการวิจัยด้านวรรณกรรมท้องถิ่นศึกษา

 

3) เพื่อแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ปูชนียบุคคลด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 80 ปี

 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

1) พัฒนาเครือข่ายนักวิชาการด้านวรรณกรรมท้องถิ่นศึกษา

 

2) ได้แนวทางในการศึกษาวิจัยด้านวรรณกรรมท้องถิ่นศึกษา

 

3) ได้แสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ปูชนียบุคคลด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 80 ปี

กำหนดการ 23 สิงหาคม 2562 (การประชุมวิชาการระดับชาติ - “ประคองขวัญวรรณกรรม” พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย)

08.00 – 08.45

 

ลงทะเบียน

 

08.45 – 09.00

 

พิธีเปิด

 

09.15 – 10.30

พิธีแสดงมุทิตาคารวะแด่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์

– การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ชมรมล้านนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    

– ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง กล่าวแสดงมุทิตาคารวะ 

– ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ กล่าวคำพร

– ผู้ร่วมงานแสดงมุทิตาคารวะแด่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์

10.30 – 10.45

 

พักรับประทานอาหารว่าง

 

10.45 – 11.30

ปาฐกถานำ เรื่อง “วรรณคดีท้องถิ่น: ทบทวนเพื่อสืบสาน”
     ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา 
     – ภาคีสมาชิกสำนักศิลปกรรม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน ราชบัณฑิตยสภา

 

11.30 – 12.00

 

กลอนสักวาในฐานะวรรณคดีท้องถิ่นภาคกลาง: ประเด็นชวนพินิจจากเอกสารตัวเขียนบางฉบับ  
     รองศาสตราจารย์ ดร. ปรมินท์ จารุวร 
     – ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

12.00 – 13.30
 

พักรับประทานอาหารกลางวัน 

 

13.30 – 14.00

 

“ขอบขัณฑสีมา” แห่งการศึกษาวรรณกรรมภาคกลาง: ว่าด้วยพรมแดนของพื้นที่และแนวทางการจัดกลุ่มวรรณกรรม  
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล
     – สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

14.00 – 14.30

 

นิทานกลอนสวด : บันทึกลักษณะคำประพันธ์ของภาคกลาง 
     อาจารย์ ดร.ณัฐา ค้ำชู
     – ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

14.30 – 15.00

 

วรรณกรรมลายลักษณ์เมืองเพชร : อัตลักษณ์ และรูปแบบอันหลากหลายของการถ่ายทอด
     อาจารย์แสนประเสริฐ ปานเนียม    
     – สำนักวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

 

15.00 – 15.30    

 

อุณหิสสวิชัย : วรรณคดีไทยพุทธศาสนาที่ได้เค้ามาจากสันสกฤต 
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
     – ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

15.30 – 15.45

 

พักรับประทานอาหารว่าง

 

15.45 – 16.30

 

จิตรกรรมวัดสมุหประดิษฐาราม จังหวัดสระบุรี : ร่องรอยวรรณกรรมของชาวไทยวนเชียงแสนในพื้นที่ภาคกลาง

     อาจารย์ ดร. เชิดชาติ หิรัญโร
     – สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
     อาจารย์ ดร. ปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์
     – สาขาวิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน
     – ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

[PHOTO ALBUM] การประชุมวิชาการระดับชาติ - “ประคองขวัญวรรณกรรม” พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย

การประชุมวิชาการระดับชาติ

“ประคองขวัญวรรณกรรม”

พินิจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: นิยาม พรมแดน อัตลักษณ์ และความหลากหลาย

 

งานแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ 
ปูชนียบุคคลด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 80 ปี

 

23 สิงหาคม 2562

โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพฯ

 

จัดโดย

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการนามานุกรมวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ของ สกสว.

 

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใคร่ขอขอบพระคุณ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการนามานุกรมวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ของ สกสว. สำหรับความร่วมมืออย่างดียิ่งในการจัดกิจกรรมวิชาการครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 

 

ทางคณะผู้จัดงานขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง และคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้เกียรติมาบรรยายความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง รวมถึงคณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านที่ให้ความสนใจงานประชุมวิชาการในครั้งนี้