คณะผู้จัดงาน (การประชุมวิชาการ - การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท)

การประชุมวิชาการ

 

การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท

 

2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum:
HEALING AND HERBAL MEDICINE

 

22–23 มิถุนายน 2560
โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่

 

จัดโดย

 

โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS)
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

กล่าวนำ (การประชุมวิชาการ - การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท)

โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาเครือข่ายวิชาการไทย-ไทศึกษาร่วมกับศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมวิชาการที่จักเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความสนใจในวัฒนธรรมไทย-ไท ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมของประเทศในกลุ่มอาเซียน และเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีโอกาสนำเสนองานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

 

คณะผู้จัดการประชุม ได้เลือกหัวข้อการประชุมเกี่ยวกับภูมิปัญญาการรักษาโรคและการใช้ยาสมุนไพรของคนไทย-ไท รวมถึงการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในการรักษาอาการเจ็บป่วยและเยียวยาจิตใจของคนในท้องถิ่น โดยจักได้รวบรวมมรดกภูมิปัญญาของคนไทย-ไทในการรักษาโรคและสร้างสมดุลแห่งชีวิต รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของคนไทย-ไท จึงมีดำริจัดประชุมวิชาการ เรื่อง การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่

 

การประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรเสนอบทความ คณะผู้จัดการประชุมขอขอบพระคุณอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา

 

ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการ - 22 มิถุนายน 2560 (การประชุมวิชาการ - การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท)

08.30 – 09.00 

 

ลงทะเบียน

 

09.00 – 09.30

 

พิธีเปิดการประชุม 

 

09.30 – 10.30

 

ปาฐกถานำ: การถ่ายถอดและการปริวรรต องค์ความรู้ทางยาจากใบลานและพับสา และการนำมาใช้ประโยชน์
     รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด
     – คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

10.30 – 11.00

 

รับประทานอาหารว่าง

 

11.00 – 12.00

 

ปาฐกถา: สถานภาพของการศึกษาแพทย์แผนไทย
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ
     – มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

 

12.00 – 13.00

 

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 17.00

 

การดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม
     ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.จำลอง ดิษยวณิช
     – คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมล้านนา
     พระนคร ปัญญาวชิโร (ปรังฤทธิ์)
     – มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

 

ตำรับยาบำรุงร่างกายในคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรล้านนา
     ดิเรก อินจันทร์
     – สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

การจัดการสุขภาพชนเผ่ากะเหรี่ยง
     นิติศักดิ์ โตนิติ
     – สถาบันปัญญาปิติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

พิธีกรรมการเยียวยารักษาจากข้อมูลในตำราการทำนายกระดูกไก่
     ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และ ดร.เชิดชาติ หิรัญโร
     – สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

 

สาเก: มุมมองศาสตร์แห่งการเยียวยาในสังคมญี่ปุ่น
     ศุภฤกษ์ ชัยรัตน์
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กำหนดการ - 23 มิถุนายน 2560 (การประชุมวิชาการ - การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท)

08.30 – 09.00

ลงทะเบียน

09.00 – 10.00

ปาฐกถานำ: ประสิทธิผลของการแพทย์พื้นบ้าน: มุมมองทางมานุษยวิทยา

     ดร.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก
     – หน่วยวิจัยระบบภูมิปัญญาสุขภาพ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

10.00 – 10.30

รับประทานอาหารว่าง

10.30 – 11.30

ปาฐกถา: โฮงยา (โรงพยาบาล) สถานที่แจกยา และโรงเรียนแพทย์ในเชียงใหม่    
     รองศาสตราจารย์สมโชติ  อ๋องสกุล
     – ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11.30 – 13.00

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.00

พิธีกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่: การดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลงภายใต้อิทธิพลของสังคมโลกาภิวัตน์
     ดร.สุวิภา จำปาวัลย์ และ ดร.ชัปนะ ปิ่นเงิน
     – สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลู่ธาตุเลปา: พิธีกรรมบูชาธาตุทั้งสี่เพื่อการรักษาสุขภาพของชาวไทใหญ่
     ดร.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์
     – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

การฟ้อนผี : พิธีกรรมแห่งการเยียวยา
     สุนทร คำยอด
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วรรณกรรมพุทธศาสนาเพื่อการเยียวยาทางจิตวิญญาณในวิถีล้านนา
     ชวนพิศ นภตาศัย
     – นักวิชาการอิสระ

16.00 – 16.30

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมวิชาการ
     ดร.ศุภฤกษ์ รักชาติ
     – สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16.30 – 16.45

พิธีปิดการประชุม
 

นิทรรศการ - 22-23 มิถุนายน 2560 (การประชุมวิชาการ - การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท)

09.00 – 16.30    

 

การนำเสนอโปสเตอร์ผลงานวิจัย

 

โรคและการรักษาโรคแบบพื้นบ้านล้านนา

     พรรณเพ็ญ เครือไทย

     – สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

แผนที่ “โฮงยา” (Hospital) และสถานที่แจกยา (Dispensary Lot) ในเชียงใหม่ยุคแรก และเครื่องมือผลิตยาเม็ดของมิชชันนารี

     รองศาสตราจารย์สมโชติ  อ๋องสกุล

     – ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

             

การจัดแสดงโปสเตอร์การเขียนใบลาน การย่ำขาง และตัวอย่างสมุนไพร

     ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

การจัดแสดงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรท้องถิ่น

     กลุ่มอาชีพชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

การถ่ายถอดและการปริวรรต องค์ความรู้ทางยาจากใบลานและพับสา และการนำมาใช้ประโยชน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด  

 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

องค์ความรู้ในใบลาน และพับสา จากแหล่งในภาคเหนือได้ถูกนำมาปริวรรตและวิเคราะห์ พบว่าตำรับยาประกอบขึ้นจากตัวยาหลากชนิด ได้แก่พืช สัตว์ และแร่ธาตุ แบ่งรูปแบบวิธีปรุงยาตามลักษณะการใช้ยาเป็น 34 รูปแบบ ทุกส่วนของพืช นำมาใช้เป็นยาได้ คุณสมบัติของพืชจัดแบ่งได้เป็น ยาร้อน ยาเย็น และ ยาเสมอ พบว่าตำรับยาที่มีกล่าวถึงมากในใบลานและพับสาได้แก่ ยาแก้ 5 ต้น ยาตัสสมูล  การวินิจฉัยโรคใช้หลักของการวิเคราะห์ธาตุ โดยพิธีกรรมมีบทบาทสำคัญในการรักษา เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย นอกจากนี้ พิธีกรรมยังใช้ในการเก็บตัวยาและการปรุงยา ศาสนายังนำมาใช้ในการอธิบายสาเหตุของการเจ็บป่วย

 

การถ่ายถอด และการปริวรรตตำรายาล้านนาจากใบลานและพับสา ได้ดำเนินการถ่ายทอดสู่อนุชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ถึงภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเนื้อหาในส่วนตำรายา และวิธีการศึกษา ได้ถูกจัดทำเป็น อิเล็คโทรนิคบุคส์ในเวบไซด์  www.thrai.sci.ku.ac.th. โดยหมอพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และ ลำพูน ได้อุทิศตำรับยา จากใบลานและพับสา ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย มอบให้เป็นตำรับยาแห่งชาติจำนวน 200 ชนิด จากการศึกษานี้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ดั้งเดิมของยาแผนโบราณล้านนาโดยเฉพาะด้านเภสัชศาสตร์เพื่อเรียนรู้และฟื้นฟูการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นภาคส่วนของการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อประโยชน์ต่อการสาธารณสุข อย่างไรก็ตามการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานเต็มรูปแบบและมีศักยภาพยังคงเป็นสิ่งจำเป็น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

การดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ จำลอง ดิษยวณิช  

 

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

ตามนิยามขององค์การอนามัยโลกคำว่า “สุขภาพ” ประกอบด้วยสี่มิติได้แก่ (1) มิติทางร่างกาย (2) มิติทางจิตใจ (3) มิติทางสังคม และ (4) มิติทางจิตวิญญาณ สุขภาพทางจิตวิญญาณเป็นมุมมองหลังสุดที่เพิ่มเข้ามาในนิยามใหม่นี้ ตัวแบบเชิงองค์รวม หรือ ชีวจิตสังคม (holistic or biopsychosocial model) ได้อธิบายสุขภาพในแนวที่เกี่ยวกับคนทั้งคน โดยไม่แยกออกเป็นแต่ละส่วนๆ ตามที่เกิดโรคนี้ขึ้นในร่างกาย ตัวแบบนี้จะครอบคลุมมุมมองต่าง ๆ ทางสรีรวิทยา จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด จิตวิญญาณ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน

 

การดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม เน้นในเรื่องของ การป้องกัน การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพในหลายๆ ด้าน

 

ผู้บรรยายได้นำเสนอผู้ป่วยสองราย เพื่อสาธิตให้เห็นถึงมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมล้านนา

พระนคร ปัญญาวชิโร (ปรังฤทธิ์)

 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

 

 

ชาวล้านนามีโลกทัศน์ว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายกับจิตใจ ทั้ง 2 ส่วนนี้ ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังจะเห็นได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกส่วนหนึ่ง กระบวนการดูแลรักษาสุขภาพของชาวล้านนาจึงไม่อาจแยกส่วนในการดูแลรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่ใช้วิธีดูแลรักษาทั้งร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป เรียกว่า การดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม  รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพล้านนาจึงมีหลากหลายรูปแบบที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตใจ ได้แก่ 1. การดูแลรักษาด้วยสมุนไพร  2. การดูแลรักษาด้วยการควบคุมพฤติกรรมการกินและความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกับอาการของโรคและคติความเชื่อท้องถิ่น  3. การดูแลรักษาด้วยการนวด 4. การดูแลรักษาด้วยพิธีกรรม 5. การดูแลรักษาด้วยธรรมะและคำสอนตามคติท้องถิ่น รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพล้านนาดังกล่าว ยังได้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับอำนาจเหนือธรรมชาติ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

ตำรับยาบำรุงร่างกายในคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรล้านนา

ดิเรก อินจันทร์

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

 

คัมภีร์ตำรายาสมุนไพรที่บันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนาพบแพร่หลายในทุกจังหวัดของภาคเหนือ โดยเนื้อหาส่วนมากจะกล่าวถึงโรค และอาการเจ็บป่วย สมุนไพรที่ใช้ วิธีปรุง และวิธีการใช้ตำรับยา ซึ่งเป็นการรักษาหลังจากที่ร่างกายเกิดความผิดปกติแล้ว แต่พบว่าตำรับยาบางส่วนเป็นองค์ความรู้ด้านการรักษาสุขภาพในขณะที่ร่างกายเป็นปกติอยู่ จัดเป็นตำรับยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง หรือเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้

 

จากการศึกษาข้อมูลตำรับยาบำรุงร่างกายในคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรล้านนา จำนวน 12 เล่ม จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน พบว่าตำรับยาบำรุงร่างกายแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) ตำรับยาเจริญอาหาร 2) ตำรับยาบำรุงผิวพรรณ 3) ตำรับยาสำหรับสตรีมีครรภ์ และ 4) ตำรับยาบำรุงร่างกายทั่วไป มีทั้งที่เป็นตำรับยาสำเร็จรูปและตำรับยาที่ต้องปรุงเป็นการเฉพาะ โดยใช้สรรพคุณหลัก หรือใช้ข้อความที่สื่อถึงสรรพคุณของตำรับยานั้นๆ มาตั้งเป็นชื่อตำรับยา นอกจากนั้นยังพบว่าขั้นตอนในการเตรียม การปรุง และการใช้ตำรับยาบางตำรับมีขั้นตอน พิธีกรรม คาถา และความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

การจัดการสุขภาพชนเผ่ากะเหรี่ยง

นิติศักดิ์ โตนิติ

 

สถาบันปัญญาปีติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

 

ปัจจุบันการจัดการสุขภาพของชนเผ่ากะเหรี่ยง ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยอาศัยวิถีการดำรงชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม และการใช้สมุนไพร จากกรณีศึกษา การจัดการเรียนรู้แก่เด็กผู้เรียน ในศูนย์การเรียนหญ้าแพรกสาละวิน   พบปรากฏการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสุขภาพของคนในชุมชน คือ 1) การเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหาร ซึ่งเปลี่ยนจากการกินอาหารตามธรรมชาติ เป็นการกินอาหารที่ได้จากซื้อหาจากเมือง 2) การลดลงของพืชและสัตว์อาหารจากป่าและน้ำ กว่า 90 ชนิด ซึ่งเดิมมีให้ปริมาณมากพอให้ชุมชนสามารถพึ่งพาเป็นแหล่งอาหารตามฤดูกาลของชุมชน 3) การลดลงของชนิดพืชในไร่หมุนเวียน เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานในการผลิต (คนหนุ่มสาวออกไปศึกษาต่อและทำงานนอกชุมชน) และมีการใช้พื้นที่ปลูกพืชที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น พริกกะเหรี่ยงเพิ่มมากขึ้น 4) มีการพึ่งพาการรักษาโรค จากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน และเบิกยาจาก อสม.ประจำชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเก็บรวบรวมข้อมูลประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากป่า การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ตามองค์ความรู้ภูมิปัญญาของ สามารถรวบรวมสมุนไพรที่มีการใช้ตามภูมิปัญญาชุมชน จำนวน 66 ชนิด  จำแนกตามสรรพคุณที่ใช้บำบัดอาการของโรคได้ 13 กลุ่มอาการ

 

จากสถานการณ์ดังกล่าว ประเด็นสำคัญของการจัดการสุขภาพของชนเผ่ากะเหรี่ยง ให้เกิดความอยู่ดี มีสุข จึงเกี่ยวข้องโดยตรงต่อความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร และโอกาสในการพึ่งพาตนเองเพื่อลดรายจ่าย และสร้างรายได้ ทางศูนย์การเรียนหญ้าแพรกสาละวิน จึงมุ่งการจัดการศึกษาบนฐานวิถีชีวิตให้เกิดการยกระดับองค์ความรู้เดิม เชื่อมต่อกับความรู้วิทยาการสมัยใหม่ เพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ “ป่าดี น้ำดี มีอยู่ มีกิน มีรายได้”

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

พิธีกรรมการเยียวยารักษาจากข้อมูลในตำราการทำนายกระดูกไก่

ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และ ดร.เชิดชาติ  หิรัญโร

 

สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

 

 

การใช้สัตว์เพื่อการทำนายเกิดขึ้นในวัฒนธรรมทั่วโลกมีความหลากหลายวิธีการและรูแบบ การใช้กระดูกเป็นส่วนหนึ่งของระบบการทำนายเช่นกัน ในประเทศจีนการช้กระดูกสัตว์เป็นเครื่องมือในการทำนายด้วยการเผาไฟแล้วเขียนตัวอักษรไปตามรอยแตก ต่อมามีการใช้กระดูกนี้ในการทำสวนผสมของยา เรียกว่ากระดูกมังกร  การใช้กระดูกสัตว์ทำนายโชคชะตามีกระดูกหลายส่วนที่ใช้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาจากตำราการทำนายด้ยกระดูกขาไก่ ในส่วนความเจ็บป่วยและการเยียวยา จากตำราของกลุ่มคนปลัง(ไตหลอย/ลัวะ/ข่าสี่แสนหอนม้า) เป็นตำราสามฉบับจากสามพื้นที่ คือ บ้านห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และในประเทศสหภาพเมียนมาอีกสองหมู่บ้านคือ บ้านแยก เมืองเชียงตุง รัฐฉาน บ้านหนองหลวง เมืองม้า เขตปกครองตนเองที่ 4 เมืองลา รัฐฉาน การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีทางเอกสารโดยการปริวรรต ตำราทั้งสามและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการระบบข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบรูปร่างตัวทายและคำทาย การวิเคราะห์งานวิจัยด้วยกรอบแนวคิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมของ Henri Lefedvre

 

ผลการศึกษาพบว่าความเจ็บป่วยและพิธีกรรมการเยียวยารักษาจากข้อมูลในตำราการทำนายกระดูกไก่นั้นมีความแตกต่างกันทั้งสาเหตุจากการเจ็บป่วยและการเยียวยาที่ปรากฏในสามตำรา ทั้งนี้เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมที่มีระดับพัฒนาการแตกต่างกันสามแบบ ตำราบ้านแยกนั้นเป็นกลุ่มคนที่อยู่ระหว่างสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์กับสงคมเกษตรกรรมแบบไรหมุนเวียนจะมีเพียงเลี้ยงผีและเรียกขวัญ ส่วงหนองหลวงนั้นเป็นสังคมที่อยู่นะหว่างสังคมเกษตรไร่หมุนเวียนกับการเริ่มต้นรับศาสนาพุทธ จะมีพิธีพิธีทำบุญและส่งเคราะห์ และห้วยน้ำขุ่นนั้นเป็นสังคมเมือง จะเป็นพิธีบวงสรวงในระดับเมือง

 

*บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาโครงการวิจัย PLANG Ethnic Group Cultural Space Comparison of the chicken bone manuscript from three villages in Chiang Rai and Shan State Myanmar) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สภาวิจัยแห่งชาติ(วช) และสำนักงานกองทุนสสนับสนุนการวิจัย(สกว) ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย Human-Chicken Multi-Relationships Research Project-H.I.H Prince Akishino’s Research under the Royal Patronage of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn (HCMR  II)

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

สาเก: มุมมองศาสตร์แห่งการเยียวยาในสังคมญี่ปุ่น

ศุภฤกษ์  ชัยรัตน์

 

สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

“สาเก”อยู่คู่กับสังคมญี่ปุ่นมายาวนานนับพันปี “สาเก” มีบทบาทสำคัญและผูกพันกับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นอย่างยิ่งทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม กล่าวคือ ผู้คนนิยมดื่มนับแต่สังคมญี่ปุ่นยุคกลาง สมัยคามากุระ-มุโรมาจิ (ค.ศ.1333-1600) “สาเก” มีกระบวนการผลิตจากธรรมชาติ มีทั้งชนิดผสมและไม่ผสมแอลกอฮอล์  สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว “สาเก”เป็นเครื่องดื่มที่มีสรรพคุณดีต่อร่างกาย มีคุณประโยชน์ด้านการรักษาทางกาย (Physical therapy)  “สาเก” ยังมีบทบาทสำคัญในแง่ประเพณีและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์และสำคัญต่อการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมดื่ม “สาเก” ในพิธีกรรมต่างๆ กระทั่งปัจจุบัน นอกจากนี้ “สาเก” ยังมีส่วนเยียวยาทั้งสุขภาพกายและใจในแง่มุมอื่นที่น่าสนใจ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

ประสิทธิผลของการแพทย์พื้นบ้าน: มุมมองทางมานุษยวิทยา

ดร.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก

 

หน่วยวิจัยระบบภูมิปัญญาสุขภาพ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

 

 

บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงมุมมองของหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยต่อประสิทธิผลของการแพทย์พื้นบ้าน โดยการศึกษาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของหมอพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนในช่วงวิกฤตการณ์โรคเอดส์และหลังจากนั้น การศึกษาพบว่า องค์ประกอบสำคัญของการแพทย์พื้นบ้านที่สนับสนุนบริบทที่สร้างความชอบธรรมให้กับหมอพื้นบ้านได้แก่ ระบบความรู้การแพทย์ท้องถิ่น จักรวาลวิทยาท้องถิ่น และระบบศีลธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีอิทธิพลต่อมุมมองของหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยต่อประสิทธิผลของการแพทย์พื้นบ้าน โดยมุมมองเหล่านี้อาจแตกต่างจากสิ่งที่การแพทย์แผนปัจจุบันระบุว่าเป็นประสิทธิผล การรักษาแบบพื้นบ้านได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลเมื่อสามารถรักษาความเจ็บป่วยและทำให้เกิดสุขภาวะ ด้วยการบำบัดที่อาการป่วย การทำให้ธาตุภายในร่างกายเป็นปกติ การขับพิษออกจากร่างกาย การควบคุมอาหาร การปรับสภาพความเป็นอยู่ และการปล่อยวางจากความทุกข์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติของหมอพื้นบ้านในการจัดการกับเชื้อโรค และวิธีในการประเมินผลลัพธ์ในการรักษา จักรวาลวิทยาท้องถิ่นทำให้ปฏิบัติการของหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยเต็มไปด้วยความหมายและส่งเสริมให้เกิดอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของยา ด้วยการเชื่อมโยงยากับอำนาจเหนือธรรมชาติของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูหมอในจักรวาลวิทยาท้องถิ่น ความเมตตากรุณา ความเชื่อถือศรัทธา คุณความดี และบุญ สามารถส่งผลดีต่อการบำบัดรักษา โดยเฉพาะเมื่อหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยต่างก็อยู่ในโลกทางศีลธรรมเดียวกัน

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

โฮงยา (โรงพยาบาล) สถานที่แจกยา และโรงเรียนแพทย์ในเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล

 

ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

บทความนี้เป็นการศึกษาทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการทำงานและการแพทย์ที่ต่อเนื่องของมิชชั่นนารี จากนายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ (Den Beach Bradley) สู่รุ่นลูกเขยคือศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกีลวารี (Rev. Daniel McGilvary) ที่ขยายงานสู่ภาคเหนือ รวมถึงการเกิดขึ้นของโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทย ในจังหวัดเชียงใหม่  ภาพประวัติศาสตร์ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นการเติบโตของการแพทย์ตามแบบแผนตะวันตกก้าวหน้ามาเป็นกระแสหลัก ในขณะเดียวกันการแพทย์แผนไทยก็ได้เติบใหญ่กลายเป็นการแพทย์ทางเลือก ความก้าวหน้าของการแพทย์แผนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันสะท้อนได้จากหลักฐานในจารึกวัดโพธิ์ที่รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้บันทึกองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยเอาไว้ และองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ได้รับการศึกษาและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

พิธีกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่: การดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลงภายใต้อิทธิพลของสังคมโลกาภิวัตน์

ดร.สุวิภา จำปาวัลย์ และ ดร.ชัปนะ ปิ่นเงิน

 

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

การศึกษาเรื่องพิธีกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ในการดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัฒน์ เพื่อรวบรวมความรู้จากพิธีกรรมแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ ด้วยการศึกษาเอกสารโบราณประเภทพับสาที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview Guideline) และการสนทนากลุ่ม (Focus Groups Discussion Guideline) ในกลุ่มผู้รู้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพิธีกรรม กลุ่มชาติพันธุ์ละ 10 คน รวมจำนวน 30 คน

 

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน และไทใหญ่ ในสังคมชนบทที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท มีสภาพความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ของเครือญาติอย่างใกล้ชิด ยังคงความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” อย่างคล้ายคลึงกัน มีพิธีเรียกขวัญเมื่อชีวิตเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ เช่น มีเคราะห์ รับโชค การเปลี่ยนสถานะทางสังคม การสูญเสีย การประสบอุบัติเหตุ การเกิด การเจ็บป่วย เพื่อฟื้นฟูสภาพจิต องค์ประกอบของการจัดการประกอบด้วย ผู้ป่วย พระสงฆ์ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หมอขวัญ) ญาติพี่น้อง เครื่องประกอบพิธี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจจากพิธีกรรมและความเอื้ออาทรกันในเครือญาติ ทำให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

หลู่ธาตุเลปา: พิธีกรรมบูชาธาตุทั้งสี่เพื่อการรักษาสุขภาพของชาวไทใหญ่

ดร.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรม “หลู่ธาตุเลปา” หรือการบูชาธาตุทั้งสี่ ซึ่งเป็นพิธีกรรมตามความเชื่อโหราศาสตร์ของชาวไทใหญ่ มีจุดประสงค์เพื่อใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสภาวะธาตุทั้งสี่ในร่างกาย ได้แก่ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ ไม่สมดุลกัน รวมถึงศึกษาการปรับตัวของพิธีกรรมดังกล่าวในปัจจุบัน โดยศึกษากรณีชุมชนไทใหญ่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

จากการศึกษาพบว่า ตามความเชื่อโหราศาสตร์ของชาวไทใหญ่ เชื่อว่าอาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจบางประเภท เกิดจากสภาวะที่ธาตุทั้งสี่ในร่างกายได้แก่ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ ไม่สมดุลกัน ซึ่งสามารถทราบได้จากการตรวจดวงชะตา โดยการรักษาจะดำเนินไปพร้อมกัน 2 วิธี ได้แก่ การรักษาด้วยการรับประทานยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงธาตุ (ยาธาตุเลปา) และการประกอบพิธีกรรม “หลู่ธาตุเลปา” หรือพิธีบูชาธาตุทั้งสี่ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยปรับความสมดุลของธาตุในร่างกาย และช่วยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างเป็นปกติ และจากการศึกษาพบว่าพิธีกรรมบูชาธาตุทั้งสี่จะทำขึ้นใน 2 วาระ ได้แก่ ประการแรก เมื่อโหรหรือสล่าได้ทำการตรวจดวงชะตาและพยากรณ์ว่าอาการเจ็บป่วยเกิดจากธาตุทั้งสี่ไม่สมดุลกัน (ธาตุเลปาซุง) ประการที่สอง การบูชาธาตุทั้งสี่ในงานประเพณีสำคัญ ได้แก่ งานประเพณีปอยเดือนหก (ปอยจ่าตี่) และงานปอยพารา (พิธีสมโภชพระพุทธรูปหรือพะธาตุสำคัญ) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพิธีดังกล่าวได้ถูกนำมาสร้างเป็นพิธีกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และถูกนิยามความหมายใหม่ว่าเป็นเครื่องสักการะพระพุทธรูป รวมถึงเป็นพิธีกรรมเพื่อเสริมดวงชะตาและส่งเสริมสุขภาพของชาวไทใหญ่

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

การฟ้อนผี: พิธีกรรมแห่งการเยียวยา

สุนทร คำยอด

 

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

 

การฟ้อนผีเป็นพิธีกรรมที่พบกระบวนการเยียวยา ภายใต้ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชาวล้านนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของชาวมอญ พิธีกรรมมีบทบาทในการบำบัดทางจิตให้กับผู้เข้าร่วมพิธีกรรม โดยอาศัยการเข้าทรงประกอบดนตรี ในพิธีจะมีการรักษาการเจ็บป่วยผ่านร่างทรงของผีบรรพบุรุษ นอกจากนี้รูปแบบของพิธีกรรมยังมีได้กำหนดบทบาทให้ผู้หญิงมีอำนาจและลดบทบาทของฝ่ายชายลง ทำให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดอันเกิดจากโครงสร้างทางสังคม

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

วรรณกรรมพุทธศาสนาเพื่อการเยียวยาทางจิตวิญญาณในวิถีล้านนา

ชวนพิศ นภตาศัย

 

นักวิชาการอิสระ

 

 

การเยียวยาด้วยการสวดมนต์ หรือการเทศน์ให้แก่ผู้ป่วยตามธรรมเนียมล้านนาที่สืบทอดกันมาในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เมื่อรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์ผู้รู้ และร่วมสังเกตการณ์ในพิธีกรรม พบว่าตัวบทวรรณกรรมที่มีการนำมาใช้เพื่อเยียวยาผู้ป่วย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มี 15 เรื่อง

 

ในแง่คติชนนั้น ตัวบทวรรณกรรมเป็นคำกล่าวสรรเสริญ และเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า บริบทในพิธีกรรมเป็นสิ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในคำสอน ดังนั้นพิธีกรรมเยียวยาแบบนี้จึงมีความหมายว่า เป็นการทำบุญด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างดีที่สุดในบริบทนั้น เป็นพิธีกรรมที่สืบทอดความเชื่อว่าจะช่วยให้วิญญาณได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี พิธีกรรมนี้จึงเป็นพิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (Rites of Passage) ไปสู่สภาวะที่ดีกว่า

 

ในแง่จิตวิทยา ตัวบทวรรณกรรมเป็นการบอกให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ยึดเหนี่ยวและสาระธรรมเป็นการสอนให้ฝึกสติและปล่อยวาง ส่วนบริบทของพิธีกรรมเป็นการสร้างความรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์ และการสร้างเสริมความศรัทธาเพื่อให้เกิดความหวังในสิ่งที่ดีกว่า และพิธีกรรมเป็นการสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ช่วยให้ผู้ป่วยทำสมาธิด้วยมนตราบำบัดซึ่งอาจทำให้บรรลุสู่สภาวะเหนือตน (Transpersonal Stage)ได้อย่างราบรื่น

 

ปัจจุบัน วรรณกรรมเยียวยาที่นิยมใช้ มีเพียง 3 เรื่อง คือ มหาวิบาก กรรมวาจา และโพชฌงค์ 7  อีก 12 เรื่อง ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีพลวัตของตัวบทที่ทำให้ไม่สะดวกที่จะนำมาใช้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในทัศนคติของพระสงฆ์ตลอดจนความสับสนในความเชื่อของชาวล้านนายุคใหม่ การสอนธรรมให้แก่ผู้ป่วยและญาติ จึงกลายเป็นพิธีกรรมเพื่อการทำบุญเอาอานิสงส์เท่านั้น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

Revision, Extension and Utilization of Indigenous Materia Medica from Thai-Lanna Palm-leaf Manuscripts

Associate Professor Dr. Panee Sirisa-ard  

 

Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University

 

 

In this study, indigenous Thai traditional medicine documented in palm-leaf manuscripts and mulberry-paper manuscripts from many sources in Northern Thailand were revised and analyzed. It was found that the medicaments are mostly formulated into compound medicines using raw materials of herb, animal and mineral components. The ingredients can be formulated into 34 forms according to the methods of usage. Many parts of medicinal plants can be used, depending on their properties (hot, cold or neutral). The treatments include element analysis and many popular formulas, such as YAKAEHATON and YATUSSAMUNE, are referenced. It was found that curing procedures include spiritual rituals to expel bad luck and for longevity to extend a patient’s life. The Buddhist way of explanation of illness also is essential. Ritual is used in compounding and collecting medicinal plants. The revision and translation of manuscripts have been extended to the young generation to learn the local wisdom. The contents of the manuscripts and the methods for studying palm-leaf manuscripts and mulberry-paper manuscripts are available in electronic format at www.thrai.sci.ku.ac.th. The 200 working treatment formulas gathered from folk healers in Chiang Mai, Lampang and Lampoon Province have been officially offered to be used in the National Pharmacopoeia of Thai Traditional Medicine. Based on this study, indigenous knowledge of Thai-Lanna traditional medicine can be developed, especially in the field of pharmacy, in order to learn and rejuvenate folk medicine, which is a sector of self-care for public health benefit. However, more studies on its full application and potential are still needed.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Holistic Health Care

Emeritus Professor Dr. Chamlong Disayavanish

 

Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

 

 

The World Health Organization’s definition of “health” consists of four dimensions: (1) physical, (2) mental, (3) social and (4) spiritual. Spiritual well-being is considered the latest addition to the aspect of health. This holistic or biopsychosocial model defines health in terms of the whole person, not as separated diseased parts of the body. The model encompasses the physiological, mental, emotion, feeling, cognitive, spiritual, as well as the environmental aspects of individuals, families and communities. Holistic health care focuses on the prevention, treatment and rehabilitation of the patient and promotion of health in all aspects.

 

The author will present two clinical cases in order to demonstrate the various aspects of holistic health care.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Format of Holistic Health Care of Lanna People

Phra Nakorn Panyàvajiro (Prangrit)

 

Mahachulalongkornrajavidayalaya University, Chiang Mai Campus

 

 

Lanna people have a worldview that humans consist of body and mind and these two parts are in close relationship to each other. When any part has an onset of illness or discomfort that has some effect on the other part as well. The health care processes of Lanna people cannot be separate from only one part to heal, but they use the format of how to care for the body, mind and soul, which is called holistic health care. Many formats of holistic health care of Lanna people show the relationship between mind and body, such as: healing by used herbs; healing by controlling eating behavior and life style concerned with illness symptoms and local beliefs; healing by massage; healing by ritual; and healing by Dhamma and local beliefs. In addition, the format of health care of Lanna people shows the relationship between humans, humans and nature, and humans and supernatural power.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Health Care Medicinal Recipes in Lanna Herbal Medicinal Manuscripts

Direk Injan

 

The Office of Arts and Culture, Chiang Mai Rajabhat University

 

 

Herbal medicinal manuscripts, recorded in Lanna script, are widely found in all provinces in the north part of Thailand. Most of the contents of these manuscripts discuss medicinal recipes to cure or treat illnesses, along with how to prepare and use such recipes after the recovery period. However, some recipes also apply health care knowledge and are used while the body is still functioning normally. There are nourishing recipes for the body to be healthy and strong, or in accordance with the needs of the users. The result of the study on the body nourishing recipes in 12 Lanna herbal medicinal manuscripts from Chiang Mai, Lampoon, Chiang Rai, Lampang, Phrae and Nan relates to recipes for body treatments. They can be divided into four categories: 1. recipes for appetite; 2. recipes for skin nourishing; 3. recipes for pregnant women; and 4. recipes for general body nourishing. Pharmacopeia is a ready-made recipe that requires a specific formula. The name of each pharmacopeia is created by main properties or a core text that represents the properties of a particular recipe. It has also been found that rituals, incantation and beliefs are involved in the procedures, the preparation, the pharmacies process and the use of some of the recipes.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Health Management of Karen Tribe

Nitisak Toniti

 

Panyapiti Institute, Mae Hong Son

 

 

Recently, health management in the Karen Tribe has changed from being based on beliefs, rituals and herbal use. The case study, ‘Instruction in Ya Prak Salawin Learning Center’ shows that the major phenomena that have impacted the health of the community are: 1) changes in diet from the past when most food was from nature, but now more food is provided from the city; 2) a decrease in plants and animals from more than 90 species that used to be the major supply of the community; 3) a decrease of crop sequencing because of a lack of labor (youth move to work and study outside) and the land being used to grow more economic crops such as Karen Chili; and 4) health care relying more on hospitals and village health volunteers (VHV). This study collects the experience of using the forest advantageously, including the use of herbs from local indigenous knowledge. The result shows that the community has been using 66 kinds of herb for 13 symptom treatment.

 

From the situation mentioned, the living quality of the Karen Tribe is dependent on natural resources, which relates to their food system, their sense of self-reliance and their way of earning a living. Thus, Ya Prak Salawin Learning Center aims to use indigenous knowledge-based instruction, along with modern science, in order to manage local natural resource effectively with related organizations.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Illness Remedial Ritual from Chicken Bones Prophecy Scripts

Dr. Pollavat Prapattong and Dr. Cherdchat Hiranro

 

School of Liberal Arts, Mae Fah Luang University

 

 

Animals have been widely used in various forms and methods for predicting, including the use of bones. For example, in China, animal bones were used after being burned, with characters written along their cracks that were then used as a medicine mixture called “dragon bones”. Animal bone prophecies were retrieved from various parts. The objective of this study was to explore the content of scripts of chicken bones prophecies in aspects of ethnic illnesses from the scripts of chicken bones divinations of the groups of Plang people – Tai lauy, /Lua/Kha See San Mauk. These scripts exist in three areas in Bann Huay Num Khun, Mae Fah Luang district, Chiang Rai province, and two villages in Myanmar – Bann Yak, Keng Tung city, Shan State and Bann Nong Luang, Mah city, the 4th Autonomous Region, Mong La city, Shan State. The methodology used in this study was documentary research by interpretation of three prophecy scripts using application software to organize data and a database for comparison purposes. The cultural space of Henri Lefebvre conceptual framework was applied for data analysis.

 

The study reveals that, according to the evidence appearing in the three scripts, there have been differences in the causes of illnesses and the remedial rituals because of three different levels of society and cultural development. Bann Yak was considered a community of hunting and gathering materials from forests, along with crop rotation. There are sacred spirit ceremonies and ritual practices for wellbeing. At Bann Nong Luang, the community was considered a crop rotation society and, existing at an early period of being a Buddhist society, there was some practice of making merit and bad luck removal. Huay Num Khun was considered an urban society whose ritual and performing practice was raised to the city level.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Sake: The Healing Perspective in Japanese Society

Suparerk Chairat

 

Department of Eastern Language and Literature, Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University

 

 

Sake has been part of Japanese society for thousands of years. Sake plays a highly significant role in the Japanese way of life as a popular drink of Japanese people, especially in the Japanese Medieval Age; Kamakura-Muromachi Period (1333-1600). Sake, both alcoholic and non-alcoholic, is made from natural raw materials. For Japanese people, sake is beneficial to health and has therapeutic effects (physical therapy). Sake plays an important role in Japanese tradition and culture. It has long been used in various rituals that relate to physical and mental relaxation. Interestingly, sake can have a healing effect on our mind and body in other aspects.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

The Effectiveness of Local Healing: An Anthropological Perspective

Dr. Yongsak Tantipidoke

 

Thai System of Health Wisdom Research Unit, Society and Health Institute

 

 

This study is about the healing practices for the treatment of HIV/AIDS in Northern Thailand during the AIDS epidemic and its aftermath. Based on an anthropological study, the results show the perspectives of the healers and patients on the effectiveness of local healing. Local medical knowledge, local cosmology and local morality are essential components of local healing. They fertilize the legitimizing context that nurtures and supports local healers. These components influence the perspective of healers and patients on the effectiveness of healing. This study affirms that healers and patients may view effective healing different from what is defined in biomedicine. Healing is considered effective when it can treat the ailments and generate general well-being by means of symptomatic treatment, normalize inner elements, excrete toxins, maintain dietary control, and adapt living conditions and detaching oneself from suffering. The influence of biomedicine shapes, however, the practices of healers in dealing with germs and the way they evaluate the healing outcome. Local cosmology conveys meaningful practices of the healers and patients and promotes the symbolic power of medicines. This power is generated by relating medicines to the supernatural supremacy of sacred things and the healer teachers in the local cosmology. Moral elements, like compassion, faith-related trust, power of virtue, and merit could enhance the effectiveness of local healing when the healers and the patients share the same local moral world.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Hospital, Dispensary and Medical School in Chiang Mai

Somchot Ongsakul

 

Lanna Studies Center, Faculty of Humanities, Chiang Mai University

 

 

This article is a historical study showing the continuity of medical work from Dr. Den Beach Bradley to his son-in-law, Rev. Daniel McGilvary through his expansion to the north of Thailand and the establishment of the third medical school in Thailand, located in Chiang Mai. The history reflects the growth of Western medicine to be mainstream and the development of traditional medicine to be alternative medicine. The advance of traditional medicine from the past to present can be implied from the Wat Pho inscriptions ordered to create by King Rama III and the wide study and broad use of herbal knowledge.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Rituals for Solving the Mental Health Problems of the Tai Ethnic Group of the Tai Lue, Tai Yuan and Tai Yai: Persistence and Change under the Influence of a Globalization Society

Dr. Suwipa Champawan and Dr. Chappana Pin’ngoen

 

Social Research Institute, Chiang Mai University

 

 

This study was designed to gather knowledge from the ritual performances of the Tai Lue, Tai Yuan and Tai Yai by studying palm-leaf manuscripts and local paper-book made of the tree-pulp called “pabsa” concerned with rites and rituals. As well, in-depth interviews and focus group discussions were held with learned locals and those involved with such rituals of the three ethnic groups, ten persons each, for a total of thirty interviewees.

 

The results of the study show that the daily life of Tai ethnic groups, such as the Tai Lue, Tai Yuan and Tai Yai, in rural areas are associated with the natural environment. They have close interactions with the kinsmen of their ethnic group and have retained the belief about “khwan”. The ceremony of “riak khwan”, or “calling back one’s spirits”, is held when someone is approaching the passage of one’s life in relation to the following situations: after having met with bad luck and preparing for good luck to come; change in social status; suffering a disaster; having an accident; childbirth; when falling severely ill; and for an ill-fated person’s mental resuscitation. The components of such ritual arrangement include the patient, the chapter of monks, the rite practitioner (Thai: mau khwan), the relative, and the offering objects believed to arouse one’s morale and courage subsequent to the ritual performance and generosity of the individual persons within the circle of kinsmen, resulting in betterment of a patient’s mental conditions.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Lu Thad Lay Pa: Tai Yai Ritual of Worshipping the Four Elements to Treat Illnesses

Dr.That Sriratanaban

 

Faculty of Humanities and Social Science, Chiang Mai Rajabhat University

 

 

This research aimed to study and explain the belief related to the ritual known as “Lu Thad Lay Pa” or the ritual to worship the four elements. The ritual is part of the Tai Yai astrological belief and serves the purpose of treating illnesses caused by an imbalance between the four elements in the human body: fire, earth, air and water. The research also aimed to study changes in the ritual in the present-day Tai Yai community in Muang district, Mae Hong Son province.

 

The results of the study show that according to Tai Yai astrological belief, certain physical and mental illnesses are caused by an imbalance between the four elements in the body. It is believed that these illnesses can be examined through fortune-telling and two forms of treatments are usually implemented: consuming a type of herbal medicine known as Ya Thad Lay Pa, which can help harmonize the four elements in the body, and by conducting the “Lu Thad Lay Pa” ritual. It is believed that the ritual has the effect of adjusting the four elements in the body and helping the person to function normally. It has been found that the ritual to worship the four elements is usually conducted for two purposes. Apart from the above-mentioned occasion when a fortune teller examines and concludes that a person’s illness is caused by the imbalance of the four elements, the “Lu Thad Lay Pa” ritual is also performed as part of two important ceremonies, the Poy Deunhok (Poy Ja Tee), held in the sixth month of the lunar calendar, and the Poy Para, a ceremony in celebration of the images or relics of the Buddha. However, this study has found that today the ritual has been transformed to serve growing tourism in Mae Hong Son. The ritual has been redefined as an offering of worship to the Buddha and as a ritual to bring good fortune and health to the Tai Yai people.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Kalok Dance in Chiang Mai Style: Ritual Therapy

Sunthorn Kamyod

 

Faculty of Liberal Arts, Maejo University

 

 

The Kalok dance is a ritual related to therapy under the belief of ancestor spirits of Lanna that has been influenced by the belief of the Mon. The role of the ritual is to treat the participants mentally by mediums conducted along with music. In the ritual, the participants are treated for their illnesses through the medium of ancestor spirits. In addition, in the ritual, women play a significant and powerful role, while the role of men is reduced, leading to less tension in the social structure.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)

Buddhist Literature for Spiritual Healing in Lanna Folkways

Chuanpit Napatasai

 

Independent Researcher

 

 

The spiritual healing of patients by ritual prayer and Dhamma preaching in Lanna folkways has been inherited in Chiang Mai and Lamphun provinces. The data collected from documents, interviewing and ritual observation, found that fifteen stories from texts have been used to heal patients from the past up to present.

 

In terms of folklore, the texts are commendation and the teaching of the Dhamma of the Buddha. The ritual contexts are empowered to believe in the Dhamma. The practice to use ritual has meaning as it is a way of making merit to help patients. The ritual of inherited Lanna ideas and beliefs is that the ritual helps spirits go to a better world.

 

In terms of psychology, the texts use the rites to teach the patients to have confidence in the Dhamma, including teaching mindfulness practice and letting go in order to relax. The context of these rites creates a sense of emotional stability and build faith of hope. The healing rituals are good social support to patients to meditate in order to calm their minds using the praying therapy from the priests and may cause the patient to achieve the transpersonal stage smoothly.

 

Recently, Buddhist Literature for Spiritual Healing uses three stories – Mahawibak, Karma Waja and Bojjhanga 7 – most actively in healing. The other twelve stories are not popular because of dynamics of the inconveniences of the texts.

 

In addition, because of changes in the attitude of the priests, as well as confusion in the belief of new age Lanna people, teaching the Dhamma to patients and their relatives has changed to become rites of making merit only.

 

 

(Presented in the 2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine (การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท), 22-23 June 2017, Le Meridien Chiang Mai Hotel, Chiang Mai, organized by the Empowering Network for International Thai and ASEAN Studies, Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University, Lanna Studies Center, Faculty of humanities ,Chiang Mai University and Thai Language Department, School of Liberal Arts Mae Fah Luang University)