Photo Source

สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ในฐานะสถาบันวิจัย

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาระกิจด้านการส่งเสริมการศึกษา และเรื่องไทยศึกษา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังคม และวัฒนธรรมไทย ตลอดจนวัฒนธรรมชนชาติไทย โดยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการวิจัย การเผยแพร่ความรู้ และศูนย์ข้อมูลไทยศึกษา

ทำเนียบผลงานวิจัย พ.ศ. 2518-2544

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ส่งเสริมการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับไทยแบบบูรณาการ หรือสหสาขาวิชามาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2518-2544 สถาบันฯ ได้สนับสนุนงานวิจัยในหลายเรื่อง อาทิ ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไทย, การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย, ลักษณะความเป็นไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต, กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, ภูมิปัญญาไทย, วัฒนธรรมชนชาติไท เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 95 เรื่อง โดยได้จัดทำเป็น ทำเนียบผลงานวิจัยไทยศึกษา พ.ศ. 2518-2544 เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยต่อไป

 

ทำเนียบผลงานวิจัยด้านไทยศึกษา พ.ศ. 2518-2544

บทคัดย่อผลงานวิจัย พ.ศ. 2518-2544

บทคัดย่อผลงานวิจัยด้านไทยศึกษา ของสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่อดีต ถึงปี พ.ศ. 2544 จัดแบ่งกลุ่มงานวิจัย ตามแผนงานวิจัยของสถาบันฯ เป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

 

ความเป็นมา และการเปลี่ยนแปลงของชีวิตไทย

 

การอนุรักษ์ และสืบสานสมบัติวัฒนธรรมไทย

 

ชีวิต และงานบุคคลสำคัญของไทย

 

วิธีการผลิต และเทคโนโลยีไทย

 

กรุงเทพมหานคร

 

ชนชาติไท

 

เบ็ดเตล็ด

 

ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของชีวิตไทย

การใช้คำเรียกขานในภาษาไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

     ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์, อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

 

การแต่งกายสตรีกับหัตถกรรมทอผ้าในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

     สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา

 

การปรับเปลี่ยนสู่สังคมสมัยใหม่ของไทย ศึกษากรณ๊มหาวิทยาลัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

     ไพฑูรย์ สินลารัตน์

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และแนวการปฏิบัติ ในสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง

     สุภาพรรณ ณ บางช้าง

 

เขื่อนปากมูล เหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย

     สมศรี ชัยวณิชยา

 

ความคิดและภูมิปัญญาไทย  คำ : ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย

     สุวรรณา สถาอานันท์, เนื่องน้อย บุณยเนตร

 

ความคิดและภูมิปัญญาไทย ชุดการดูแลสุขภาพอนามัย

     คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

บทบาทของการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อการพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทย พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516

     ปิยนาถ บุนนาค, จันทรา บูรณฤกษ์

 

บทบาทของแผนกดุริยางค์ไทย (กองการสังคีต กรมศิลปากร) ต่อสถานภาพนักดนตรีไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม

     ภัทรวดี ภูชฏาภิรมย์

 

บทบาททางสังคมของภาษาไทยกับการปรับเปลี่ยนเป็นสมัยใหม่ของสังคมไทย

     อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

 

บทบาทในด้านสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของชนกลุ่มน้อยในกรุงรัตนโกสินทร์ความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี : มอญ

     สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, วิจิตร เกิดวิศิษฐ์, อรรถจินดา ดีผดุง, สุเอ็ด คชเสนี

 

ประวัติปัญหาสภาวะแวดล้อมในสมัยรัตนโกสินทร์

     สุรพล สุดารา, ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันทน์, เยาวรัตน์ พุฒิมานรดีกุล, มัทยา จิตติรัตน์

 

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวลาวเวียงและลาวพวน ในอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา

     เพ็ญศรี ดุ๊ก, นารี สาริกะภูติ

 

พัฒนาการของพลศึกษาในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2325-2525

     ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์

 

พัฒนาการของภาคเกษตรและผลกระทบต่อชาวไร่ชาวนาไทยในช่วงหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2536

     สมภพ มานะรังสรรค์

 

พุทธประเพณี บทบาทและความหมายสำหรับสังคมไทยปัจจุบัน

     มรรยา กิจสุวรรณ, วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

เภสัชกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในรอบ 200 ปี

     ประโชติ เปล่งวิทยา

 

ร้อยปีคลองรังสิต

     ฉลอง สุนทราวาณิชย์, ธงชัย พรรณสวัสดิ์, วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์, สุริชัย หวันแก้ว

 

วิวัฒนาการของหมู่บ้านมิตตคาม

     กีรติ บุญเจือ

 

วิวัฒนาการความเชื่อเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติและปรากฎการทางธรรมชาติในภาคตะวันออกของไทย

     พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์

 

สถานภาพการศึกษาเรื่องประเพณีไทย ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

Political Business Cycles in Thailand, 1979-1992 : General Election and Currency in Circulation

     Anusorn Limmanee

 

การอนุรักษ์และสืบสานสมบัติวัฒนธรรมไทย

กีฬาพื้นเมืองไทย ศึกษาและวิเคราะห์ทางด้านพละศึกษา (เล่ม 2)

     ชัชชัย โกมารทัต

 

กีฬาพื้นเมืองไทย ภาคกลาง

     ชัชชัย โกมารทัต

 

กีฬาพื้นเมืองไทย ภาคเหนือ

     ชัชชัย โกมารทัต

 

กีฬาพื้นเมืองไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

     ชัชชัย โกมารทัต

 

กีฬาพื้นเมืองไทย ภาคใต้

     ชัชชัย โกมารทัต

 

ความคิดและภูมิปัญญาไทย ชุด ดุริยางคศิลป์

     สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ, รอดช้างเผื่อน

 

แบบอย่างและวิวัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนัง 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     เพ็ญศรี ดุ๊ก, จุลทัศน์ พยาฆรานนท์

 

พุทธธรรมที่เป็นรากฐานสังคมไทย ก่อนสมัยสุโขทัยถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

     สุภาพรรณ ณ บางช้าง

 

เพลงพื้นบ้านท่าโพ : เนื้อหาดนตรีและการสืบทอด

     ณรุทธ์ สุทธิจิตต์

 

วิวัฒนาการของเพลงไทยสมัยรัตนโกสินทร์

     อรวรรณ บรรจงศิลป์, โกวิทย์ ขันธศิริ

 

วิวัฒนาการของศิลปหัตถกรรมในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ – เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน ดอกไม้ประดิษฐ์

     สาวิตรี เจริญพงศ์

 

ศิลปหัตถกรรมของช่างทองเมืองเพชร : ความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน

     วัฒนะ จูฑะวิภาต

 

หลักพุทธธรรมที่ใช้เป็นรากฐานของสังคมไทยในยุคเทคโนโลยีภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

     ระวี ภาวิไล

 

Thai Women's Lives during the Late Ayutthaya and Early Rattanakosin Periods : the Study of Historical Evidence from Temple Murals

(วิถีชีวิตผู้หญิงไทยในช่วงสมันอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ : การศึกษาจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง)

     Napat Sirisambhand, Alec Gordon

 

ชีวิตและงานบุคคลสำคัญของไทย

ความเป็นครูสถิตในหทัยราช

     เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท

 

ชีวประวัติของผู้บริหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2459 -2526.pdf

     รอง ศยามานนท์, เพ็ญศรี ดุ๊ก, ปิยนาถ บุนนาค, พูนเกศ จันทกานนท์

 

นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัชในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

นามานุกรมศิลปินเพลงไทย ในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     พูนพิศ อมาตยกุล, พิชิต ชัยเสรี, อารดา กีระนันทน์, วชิราภรณ์ วรรณดี, ประพจน์ อัศววิรุฬหการ, จรวยพร สุเนตรวรกุล

 

แนวคิดทางการศึกษาของนักการศึกษาไทยในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 ถึงปัจจุบัน

     ผกา สัตยธรรม, ลินจง อิมทรัมพรรย์, ศิริมาส ไทยวัฒนา

 

แนวพระราชดำริด้านการเมืองการปกครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

     กนก วงษ์ตระหง่าน

 

บทบาทของบุคคลสำคัญทางด้านเภสัชกรรมไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2539

     หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์

 

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

     สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

วิธีการผลิตและเทคโนโลยีไทย

การศึกษาวิเคราะห์วิทยาศาสตร์และประยุกต์วิทยาพื้นบ้านไทย

     ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ความคิดและภูมิปัญญาไทย ชุด ความเป็ยอยู่ และการทำมาหากิน.pdf

     ธเนศ ศรีสถิต, ธำรงเปรมปรีดิ์

 

หัตถกรรมไทย ความเป็นมาและการผลิตในปัจจุบัน ศึกษากรณี – การทำขลุ่ย

     วัฒนะ จูฑะวิภาต

 

หัตถกรรมไทย ความเป็นมาและการผลิตในปัจจุบัน ศึกษากรณี – การทำของเล่นไม้ระกำ

     วัฒนะ จูฑะวิภาต

 

หัตถกรรมไทย ความเป็นมาและการผลิตในปัจจุบัน ศึกษากรณี – การทำบาตรพระ

     วัฒนะ จูฑะวิภาต

 

หัตถกรรมไทย ความเป็นมาและการผลิตในปัจจุบัน ศึกษากรณี – ช่างปั้นหล่อพระ

     วัฒนะ จูฑะวิภาต

 

ระบบสวนรอบบ้านแบบดั้งเดิมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา : ความสมเหตุผลทางนิเวศวิทยา

     จิรากรณ์ คชเสนี, นันทนา คชเสนี, เมือง โคกทุ่ง

 

กรุงเทพมหานคร

คลองในกรุงเทพฯ : ความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ 200 ปี (พ.ศ. 2325-2425)

     ปิยนาถ บุนนาค, ดวงพร นพคุณ, สุวัฒนา ธาดานิติ

 

ความเชื่อและพิธีกรรมในวิถีชีวิตของชาวสวนคลองบางระมาด

     สุกัญญา สุจฉายา

 

ตลาดในกรุงเทพมหานคร : การขยายตัวและพัฒนาการ

     เกียรติ จิวะกุล, จตุรนต์ วัฒนผาสุก, สุวัฒนะ ธาดานิติ, ขวัญสรวง อติโพธิ, ชมพูนุท นาคีรักษ์, เนตรนภิศ นาควัชระ

 

ท่าเตียน – ปากคลองตลาด : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง

     อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ

 

บ้านในกรุงเทพฯ รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี (พ.ศ. 2325-2525)

     ผุสดี ทิพทัส, มานพ พงศทัต

 

พระราชวังและวังในกรุงเทพฯ

     มรว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ณพิศร กฤตติกากุล, ดรุณี แก้วม่วง

 

สำเพ็ง ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2325-2475)

     ปิยนาถ บุนนาค

 

The Chinese Community in Bangkok : Continuity and Changes

    Pensri Duke, Piyanart Bunnag

 

 

 

ชนชาติไท

การศึกษาวิเคราะคำศัพท์ภาษาไทเหนือ

     นววรรณ พันธุเมธา, รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร, ตาวเชิงหวา, หูเหย่ฝาง

 

คำไทเมืองเติ๊ก

     นววรรณ พันธุเมธา, หว่าง เหลือง, เทพี จรัสจรุงเกียรติ

 

วัฒนธรรมข้าวของชนชาติไท : ภาพสะท้อนจาก ตำนาน นิทาน เพลง

     ประคอง นิมมานเหมินท์, ยรรยง จิระนคร, ศิราพร ณ ถลาง, สุกัญญา สุจฉายา

เบ็ดเตล็ด

การประเมินผลงานลูกเสือชาวบ้านในเขตจังหวัดภาคกลาง

     วิทยา สุจริตธนารักษ์, ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล

 

การพัฒนาสมุนไพรไทยด้านสาธารณสุขสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 1

     โสภิต ธรรมอารี, มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร

 

การพัฒนาสมุนไพรไทยด้านสาธารณสุขสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 2

     โสภิต ธรรมอารี, มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร

 

จันทบุรีและตราด กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

     ปิยนาถ บุนนาค, พวงเพชร สุรัตนกวีกุล

 

วิวัฒนาการของกฎหมายไทยในรอบ 200 ปี ภาค 1 ภาคทั่วไป

     สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

 

วิวัฒนาการของกฎหมายไทยในรอบ 200 ปี ภาคกฎหมายมหาชนส่วนแพ่ง

     สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

 

วิวัฒนาการของกฎหมายไทยในรอบ 200 ปี ภาคกฎหมายวิธีสบันญัติ

     สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ และคณะ

 

วิวัฒนาการของสังคมวิทยาในรอบ 200 ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์

     สัญญา สัญญาวิวัฒน์

 

 

บทคัดย่อผลงานวิจัย พ.ศ. 2545-2553

บทคัดย่องานวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2553 

 

การสำรวจ และการพัฒนาศักยภาพงานทำดอกไม้ประดิษฐ์ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

9 แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ (ผู้วิจัยร่วม)

 

พัฒนาการระบบคณะรัฐมนตรีไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ (ผู้วิจัยร่วม)

 

100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) : ธนาคารไทยแห่งแรก

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ (ผู้วิจัยร่วม)

 

นโยบายการปกครองของรัฐบาล ต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ – รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531)

     วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ (ผู้วิจัยร่วม)

 

คลองแสนแสบ : ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

     ตรีศิลป์ บุญขจร (หัวหน้าโครงการ) 

เรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก : พลวัตของวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติในสื่อร่วมสมัย

โครงการวิจัยเรื่อง "เรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก : พลวัตของวรรณคดีเฉลิมพระเกีนรติในสื่อร่วมสมัย" ได้รับทุนสนับจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปีงบประมาณ 2559 ดำเนินการโดย ดร. รัชนีกร รัชตกรตระกูล

 

 

 

เรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก: พลวัตของวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติในสื่อร่วมสมัย

การดัดแปลงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การดัดแปลงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562 ดำเนินการโดย ดร.รัชนีกร รัชตกรตระกูล

 

 

 

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การดัดแปลงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย

 

 

 

 

ชม กิน ถิ่นน่าน

หนังสือ "ชม กิน ถิ่นน่าน" เรียบเรียงจากผลจากศึกษาของโครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนตามเกณฑ์ Global Sustainable Tourism Council ในพื้นที่เมืองเก่าเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองเก่าน่าน จังหวัดน่าน ปีงบประมาณ 2563 ซึ่งสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีเป้าหมายสำคัญเพื่อจัดเก็บเนื้อหาเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของพื้นที่เมืองเก่าทั้งสองตามประเด็นที่ UNESCO กำหนดไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรม สวนสมุทร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย 

 

หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบส่วนหนึ่งจากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์คนพื้นถิ่นน่าน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติวัฒนธรรม (practictioner) ให้ความกรุณาถ่ายทอดความรู้เพื่อบันทึกไว้เป็นสมบัติของชุมชน ซึ่งประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจวิถีคิดและมรดกภูมิปัญญาของคนในชุมชนพื้นที่เมืองเก่าน่าน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่สนใจข้อมูลเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นเมืองเก่าน่าน สามารถนำไปศึกษาและทำความเข้าใจพร้อมๆ กับทำกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ไม่รบกวนธรรมชาติและสภาพความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ดั้งเดิม 

 

 

 

ชม กิน ถิ่นน่าน