คณะผู้จัดงาน (การเสวนาวิชาการ - “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้)

การเสวนาวิชาการ

 

“ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

 

14-15 มีนาคม 2563
หอนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

 

จัดโดย

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดโครงการ (การเสวนาวิชาการ - “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้)

หลักการและเหตุผล

 

โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง  “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับขนมหวานและพิธีกรรมเซ่นไหว้ของคนไทยเชื้อสายจีน เป็นการอภิปรายประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต และความเชื่อทางศาสนาของคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งจะสะท้อนให้เราเห็นถึงการผสมผสาน การกลืนกลายทางวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากเทศกาลสำคัญที่คนไทยเชื้อสายจีนเคยปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษได้ถูกตัดทอนรายละเอียดบางอย่างออกไป ถึงแม้ว่าการกลืนกลายทางวัฒนธรรมจะเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ขนบธรรมเนียมและประเพณีอาจเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต แต่ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนยังคงดำรงอยู่ พวกเขายังคงเคารพบูชาบรรพบุรุษตามแนวคิดของขงจื๊อ เซ่นไหว้เทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามแนวคิดของเต๋าและพุทธศาสนาแบบมหานิกาย โดยเฉพาะในย่านชุมชนคนไทยเชื้อสายจีน ประเพณีและพิธีกรรมบางอย่างยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่น อย่างไรก็ตาม คนไทยเชื้อสายจีนปัจจุบันกลับมีความรู้เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมของตนเองไม่ลึกซึ้งเพียงพอ ทำให้พวกเขาไม่เข้าใจสาระสำคัญ และไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีกับวิถีชีวิตได้

 

อาหารคือกระจกสะท้อนวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกวิถีชีวิตและตัวตนของแต่ละชนชาติ เทศกาลในรอบปีของคนไทยเชื้อสายจีนมีจำนวนมาก แต่ละเทศกาลจะมีของไหว้ที่ขาดไม่ได้ เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา กุยช่าย ขนมถ้วยฟู ขนมเปี้ย และผลไม้ต่างๆ บางเทศกาลจะมีอาหารพิเศษประจำเทศกาล เช่น ขนมอี๋ บ๊ะจ่าง ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งอาหารคาวหวานทั้งหลายเหล่านี้จะแฝงคติความเชื่อ และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น การศึกษาความหมายและความสำคัญของอาหารในเทศกาลต่างๆ ของจีนเป็นหัวข้อที่นักวิชาการให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเคยจัดกิจกรรมด้านอาหารและประเพณีของคนไทยในพื้นที่หรือภูมิภาคต่างๆ หลากหลายรูปแบบ แต่การศึกษาเรื่องอาหารกับพิธีกรรมในรอบปีของคนไทยเชื้อสายจีนอย่างลึกซึ้ง โดยเชื่อมโยงกับชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ ยังมีจำนวนไม่มากนัก  

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลิตและสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของวารสารและบทความวิชาการด้านอาหารและวัฒนธรรมจำนวนมาก เช่น บทบาทของอาหารในพิธีกรรมเกี่ยวกับดนตรีของชาวล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย แป้งอิตาลีในอาหารไทย อาหารเช้าของคนไทย ผัดหมี่ในรายการอาหารไทย ข้าวยำปักษ์ใต้ มะพร้าวในวิถีชีวิตไทย เป็นต้น อีกทั้งยังจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านอาหารและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เช่น วัฒนธรรมชากับการค้าและการอุตสาหกรรม ขนมหวานกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย เป็นต้น ผลงานและโครงการดังกล่าวที่สถาบันไทยศึกษาได้ดำเนินการมาโดยตลอด ช่วยผลักดันให้ชุมชนวิชาการของไทยมีความเข้มแข็ง สร้างเครือข่ายวิชาการ ประชาสัมพันธ์ให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปทุกสาขาอาชีพมีความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและวัฒนธรรไทยลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

ในการนี้ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเห็นสมควรจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอาหารและประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีน ส่งเสริมให้สังคมไทยตระหนักถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ รวมถึงต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์และงานบริการที่มีคุณค่าและมูลค่า อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป     

 

 

วัตถุประสงค์

 

1. รวมรวม สังเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของเซ่นไหว้และประเพณีสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ นักปฏิบัติการด้านวัฒนธรรม และผู้สนใจทั่วไป

 

2. สร้างเครือข่ายทางวิชาการเพื่อร่วมกันการสร้างสรรค์งานบริการเชิงวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อย่านชุมชนคนไทยเชื้อสายจีน

 

3. เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมของสถาบันไทยศึกษา

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

1. ผู้เข้าร่วมประชุมตระหนักและเห็นคุณค่าของประเพณีสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน

 

2. ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นความเชื่อมโยงของงานวิจัยที่สถาบันไทยศึกษาสนับสนุนที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความสนใจของท้องถิ่น

 

3. สร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านไทยศึกษาระดับภูมิภาค เพื่อการต่อยอดการวิจัยในท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง

 

4. โครงการและกิจกรรมของสถาบันไทยศึกษาเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

กำหนดการ 14 มีนาคม 2563 (การเสวนาวิชาการ - “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้)

12:30 – 13:15

ลงทะเบียน

 

13:15 – 13:30

 

พิธีเปิด

 

13:30 – 15:30

 

เสวนาวิชาการ “ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในกรุงเทพมหานคร”
     คุณสมชัย กวางทองพาณิชย์
     อาจารย์ภูมิ ภูติมหาตมะ

 

15:30 – 16:00     

 

ถาม-ตอบและสรุปการเสวนา

 

ชมนิทรรศการ “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

กำหนดการ 15 มีนาคม 2563 (การเสวนาวิชาการ - “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้)

12:30 – 13:15

 

ลงทะเบียน

 

13:15 – 13:30

 

พิธีเปิด

13:30 – 15:30

 

เสวนาวิชาการ “ขนมหวานกับพิธีกรรมเซ่นไหว้ของคนไทยเชื้อสายจีน”
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล
     อาจารย์เศรษฐพงศ์ จงสงวน

 

15:30 – 16:00     

 

ถาม-ตอบและสรุปการเสวนา

 

ชมนิทรรศการ “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

[ประชาสัมพันธ์] ขอเลื่อนการเสวนาวิชาการ - “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอเลื่อนการเสวนาวิชาการ

 

“ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

 

วันที่ 14-15 มีนาคม 2563

เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิท-19

 

สถาบันไทยศึกษาขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

โดยจะแจ้งกำหนดการใหม่ให้ทราบอีกครั้ง

 

 

 

 

[ประชาสัมพันธ์] การเสวนาวิชาการ - “ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

ขอเชิญเข้าร่วมฟังเสวนาวิชาการและชมนิทรรศการ

 

“ก้วย กอ เปี้ย ทึ้ง” กับพิธีกรรมเซ่นไหว้

 

14-15 มีนาคม 2563

หอนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

 

จัดโดย

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

14 มีนาคม 2563

เวลา 12.30 – 16.00 น.

 

เสวนาวิชาการ

 

“ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในกรุงเทพมหานคร”

 

คุณสมชัย กวางทองพาณิชย์
อาจารย์ภูมิ ภูติมหาตมะ

 

 

15 มีนาคม 2563

เวลา 12.30 – 16.00 น.

 

เสวนาวิชาการ

 

“ขนมหวานกับพิธีกรรมเซ่นไหว้ของคนไทยเชื้อสายจีน”

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล
อาจารย์เศรษฐพงศ์ จงสงวน

 

 

**ไม่จัดเก็บค่าลงทะเบียน**