คณะผู้จัดงาน (การเสวนาวิชาการ - รู้ไทย เข้าใจจีน : ระดมความคิดแนวทางการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน)

การเสวนาวิชาการ

รู้ไทย เข้าใจจีน

โครงการเสวนาระดมความคิดแนวทางการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน

 

1 กันยายน 2564
ระบบประชุมทางไกล Zoom Webinar

 

จัดโดย

 

กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดโครงการ (การเสวนาวิชาการ - รู้ไทย เข้าใจจีน : ระดมความคิดแนวทางการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน)

หลักการและเหตุผล

 

ประเทศไทยได้ทำสัญญาความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับประเทศจีนมาแล้ว 3 ฉบับ ได้แก่     

 

1.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อปี พ.ศ.2544 

 

2.ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการจัดตั้งและสถานะของศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อปี 2550  

 

3.แผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับปี พ.ศ. 2562-2564

 

สาระสำคัญคือการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมในประเทศคู่สัญญาเพื่อการแลกเปลี่ยนกิจกรรมและองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ในปัจจุบันการดำเนินการของฝ่ายจีนเรียบร้อยแล้ว ปรากฎเป็นศูนย์วัฒนธรรมจีนในประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 18 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 8222 ตารางเมตร มีภารกิจหลักในการเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย และส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชนและรัฐบาลทั้งสองประเทศ จากการดำเนินงานของศูนย์วัฒนธรรมจีนในประเทศไทยเห็นได้ชัดว่าประสบความสำเร็จสูง สามารถตอบสนองพันธกิจที่จะเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมจีนให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บุกเบิกการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปสู่สากลในรูปแบบของงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภูมิภาคอเมริกาใต้ (แมกซิโก บราซิล และอาร์เจนตินา) และในภูมิภาคใกล้เคียงเช่น เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศจีน(บางพื้นที่) จึงร่วมมือกับกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในการจัดทำร่างแผนการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน เพื่อเป็นหน่วยงานสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้และความเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวจีน และเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

 

อนึ่ง การดำเนินการศึกษาและร่างแผนงานเบื้องต้นในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจรูปแบบงานและความสัมพันธ์ของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีภารกิจใกล้เคียงกันเพื่อศึกษารูปแบบในการจัดการไม่ให้ทับซ้อนและพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งจำเป็นที่จะต้องศึกษาความคาดหวังและความต้องการของประชาชนชาวจีนที่มีต่อการดำเนินการของศูนย์ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย โดยเฉพาะในการกระชับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมของคนทั้งสองประเทศ และช่วยเผยแพร่สินค้าทางวัฒนธรรมทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสร้างสรรค์ให้ก้าวเข้าสู่ตลาดจีนอย่างสง่างามและยั่งยืน

 

กระทรวงวัฒนธรรมจึงร่วมกับสถาบันไทยศึกษาจัดการเสวนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ในการรับฟัง ความคิดเห็นของบุคคล หน่วยงาน องค์กร และสถาบันที่ทำงานด้านวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมไทยที่สัมพันธ์กับจีน เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาประเมินและสังเคราะห์เป็นข้อสรุปแนวทางในการดำเนินการของศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีนต่อไป

 

 

วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อศึกษาการทำงานของบุคคล หน่วยงาน องค์กร และสถาบันที่ทำงานด้านวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมไทยที่สัมพันธ์กับจีน

 

2. เพื่อรับฟังความคิดเห็นและรวบรวมองค์ความรู้ในการร่างแผนงานในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน โดยเฉพาะประเด็นด้านโอกาสและอุปสรรคจากผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินงานของศูนย์ในอนาคต

 

3. เพื่อสังเคราะห์ความคิดเห็นจากการเสวนามาจัดทำแผนการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

1. ได้รับฟังความคิดเห็นและความรู้เกี่ยวกับโอกาสและอุปสรรคในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทย      ในประเทศจีนจากผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน

 

2. เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำร่างแผน การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน

 

3. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง อันจะไปสู่การดำเนินกิจกรรมอย่างยั่งยืนร่วมกันในอนาคต

กำหนดการ 1 กันยายน 2564 (การเสวนาวิชาการ - รู้ไทย เข้าใจจีน : ระดมความคิดแนวทางการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน)

09.00 – 09.30          

 

เปิดรับผู้เข้าร่วมเสวนาเข้าสู่ระบบ

 

 

09.30 – 09.40          

 

พิธีเปิดการเสวนา

     – ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวรายงาน

     – รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความร่วมมือ

 

 

09.40 – 10.00

 

ปาฐกถานำ เรื่อง ความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน

     นายอิทธิพล คุณปลื้ม

     – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

 

10.00 – 10.45

 

บันทึกการสัมภาษณ์ “มองอดีตเห็นอนาคตความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมไทย-จีน”

 

     นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร

     – เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง

 

     Ms. CHANG Yumeng

     – ที่ปรึกษาแผนกวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชาจีนประจำประเทศไทย

     – รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ

 

     นายโภคิน พลกุล

     – นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

 

     สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี

     – ประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล  

 

 

10.45 – 12.00          

 

การบรรยายพิเศษ “การรับรู้และความสำคัญของวัฒนธรรมไทยในบริบทของชาวจีนปัจจุบัน”

 

     ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

     – รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

 

     อาจารย์ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร

     – ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

     Ms. Li Min

     – หัวหน้าสำนักข่าว China Media Group ประจำประเทศไทย

 

 

12.00 – 13.00          

 

พักการประชุม

 

 

13.00 – 13.45     

 

เสวนาโต๊ะกลม "การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ตลาดจีน”

                            

     นายเลิศชาย หวังตระกูลดี

     – ผู้อำนวยการสำนักงานเซี่ยงไฮ้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

     นายสกรรจ์ แสนโสภา

     – นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ กระทรวงพาณิชย์

 

     นายชุน ไพลินดีเลิศ

     – นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน

 

 

13.45 – 14.00          

 

พักการประชุม

 

 

14.00 – 14.45          

 

เสวนาโต๊ะกลม "ทุนทางวัฒนธรรมไทยกับโอกาสในตลาดจีน”

 

     ศาสตราจารย์ ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์

     – คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                             –

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อโณทัย นิติพน

     – สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

 

     นายยชญ กรณ์หิรัญ

     – กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สตาร์ ฮันเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

 

 

14.45 – 15.00          

 

พักการประชุม

 

 

15.45 – 16.00          

 

เสวนาโต๊ะกลม “ภาษาและวัฒนธรรมไทยในการรับรู้ของชาวจีน”

 

     Ms. Chen Yinfei

     – Teacher of the Thai Language Department, Guangxi University for Nationalities

 

     Mr. LU LiBo

     – นิสิตปริญญาโทวิชาเอกภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

                            

     Ms. Liu RongHan

     – COO บริษัท ฟลาย ไลฟ์ ไทย

 

 

ผู้ดำเนินรายการ

 

นายวรรณชัย จิตธิวงศ์

[Photo Album] การเสวนาวิชาการ - รู้ไทย เข้าใจจีน : ระดมความคิดแนวทางการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน

การเสวนาวิชาการ

 

รู้ไทย เข้าใจจีน

 

โครงการเสวนาระดมความคิดแนวทางการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีน

 

1 กันยายน 2564
ระบบประชุมทางไกล Zoom Webinar

 

จัดโดย

 

กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

คณะผู้จัดงานขอขอบพระคุณวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชาจีนประจำประเทศไทย  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์  สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล  หอการค้าไทยในจีน  สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน  สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน  สำนักข่าว China Media Group ประจำประเทศไทย  บริษัท สตาร์ ฮันเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์  สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ ศุนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้เกียรติมาบรรยายความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง รวมถึงคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านที่ให้ความสนใจงานเสวนาวิชาการในครั้งนี้

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใคร่ขอขอบพระคุณ กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับความร่วมมืออย่างดียิ่งในการจัดกิจกรรมวิชาการครั้งนี้จนกิจกรรมวิชาการครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ