คณะผู้จัดงาน (นิทรรศการ - ยลยันต์)

โครงการนวัตกรรมวิจัยไทยศึกษา 

 

นิทรรศการ เรื่อง “ยลยันต์”

 

12 – 21 กรกฎาคม 2562

หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

 

จัดโดย 

 

สถาบันไทยศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดโครงการ (นิทรรศการ - ยลยันต์)

หลักการและเหตุผล

 

โครงการนวัตกรรมวิจัยไทยศึกษา เป็นแนวคิดต่อยอดองค์ความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัยด้านไทยศึกษาให้เกิดผลงานทางนวัตกรรมในหลากหลายมิติ นอกจากนี้ยังทำให้องค์ความรู้ทางด้านไทยศึกษาเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจเข้าถึง และจับต้องได้ ดังนั้น สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงนำโครงการนี้ออกสู่พื้นที่สาธารณะในวงกว้างนอกเหนือจากแวดวงวิชาการ โดยการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การจัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด การจัดนิทรรศการที่ทำให้ผลงานวิจัยได้รับการย่อยออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจแต่บุคคลทั่วไป การต่อยอดงานวิจัยโดยผสมผสานเชื่อมโยงกับศาสตร์สาขาอื่น ทั้งทางด้านงานออกแบบสร้างสรรค์ และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้โดยมีองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาเป็นเนื้อหาสาระที่สามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลงาน

นิทรรศการเรื่อง “ยันต์” (Yantra)  มีเนื้อหาสาระจากการศึกษาของนักวิชาการหลายคนทั้งด้านคติชนวิทยาและด้านไทยศึกษา ความเชื่อเรื่องคาถาอาคมและเครื่องรางของขลังเป็นมรดกภูมิปัญญาของมนุษย์ยุคโบราณที่สืบทอดกันมาช้านาน โดยเฉพาะชาวพุทธในบริเวณสุวรรณภูมิ ซึ่งปรากฎในระบบเลขยันต์ต่างๆ  ได้ย่อสูตรต่างๆ เป็นอักขระ จัดเรียงในรูปแบบตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข หรือรูปภาพ เขียน สัก หรือแกะลงบนผืนผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ ฯลฯ ทั้งหมดทั้งสิ้นมีหลักฐานแสดงวิวัฒนการมานานหลายร้อยปี  ในปัจจุบันการทำเลขยันต์ยังคงอยู่และเป็นที่นิยมมากขึ้นจนเป็นสินค้าด้านความเชื่อที่ได้รับความต้องการของกลุ่มคนไทยและชาวต่างชาติ จนบางครั้งทำให้องค์ความรู้ด้านนี้ผิดเพี้ยนและนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงเห็นควรที่จะนำองค์ความรู้นี้มานำเสนอให้ผู้คนในสังคมได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาของคนไทย 

 

นอกจากนี้ จากการศึกษาเนื้อหาผลงานวิจัยดังกล่าว ทำให้เกิดแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบ ศิลปิน และผู้สร้างสรรค์แขนงอื่นๆ อีกมาก ทำให้เกิดผลงานต่อยอดจากองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ยันต์” ของไทย กลายเป็นผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ทำให้เห็นว่าองค์ความรู้ด้านไทยศึกษา เข้าใจ เข้าถึง และจับต้องได้ มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อทั้งวงการวิชาการและวงการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งสามารถต่อยอดไปถึงการสร้างสรรค์เชิงเศรษฐกิจได้อีกด้วย ขณะเดียวกันก็ทำให้คนในสังคมไทยหันกลับมาสนใจศึกษาองค์ความรู้ต่างๆ อันมีคุณค่ามากของชาติ 

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีนโยบายที่จะส่งเสริม เผยแพร่ ต่อยอด องค์ความรู้ด้านไทยศึกษาให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คนในสังคมไทยและสังคมโลก

 

 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องระบบเลขยันต์ของไทยให้ผู้คนในสังคมได้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. เผยแพร่องค์ความรู้ด้านไทยศึกษาต่อสาธารณะในวงกว้าง
3. เพื่อต่อยอดงานวิจัยด้านไทยศึกษาให้เกิดผลงานนวัตกรรมในหลากหลายมิติ 
4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับส่วนงานอื่นทั้งในภาครัฐ และเอกชน

 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
1. องค์ความรู้เรื่องระบบเลขยันต์ของไทยเป็นที่ประจักษ์แก่คนในสังคมไทยและนานาชาติ
2. องค์ความรู้เรื่องไทยศึกษาเป็นที่ประจักษ์แก่คนในสังคมไทยและนานาชาติ
3. องค์ความรู้เรื่องไทยศึกษาสามารถต่อยอดเป็นผลงานนวัตกรรม

นิทรรศการ เรื่อง ยลยันต์

[PHOTO ALBUM] นิทรรศการ – ยลยันต์

โครงการนวัตกรรมวิจัยไทยศึกษา 

 

 นิทรรศการ เรื่อง “ยลยันต์”

 
12 – 21 กรกฎาคม 2562
หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
 

จัดโดย 
 

สถาบันไทยศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

สถาบันไทยศึกษา ขอขอบพระคุณวิทยากรภาคเสวนา วันที่ 13 และ 20 กรกฎาคม 2562 ได้แก่ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ดร.ณัฐธัญ มณีรัตน์ อาจารย์วุฒินันท์ ป้องป้อม และอาจารย์เทวัญ ฉวางวงศานุกูล ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ได้แก่ คุณวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข คุณปิยพร พงษ์ทอง และคุณรพิ ริกุลสุรกาน  รวมถึงท่านผู้เข้าชมงานนิทรรศการและร่วมฟังการเสวนาทุกท่านที่ให้ความสนใจกิจกรรมวิชาการครั้งนี้