คณะผู้จัดงาน (การประชุมวิชาการระดับชาติ - โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน)

การประชุมวิชาการระดับชาติ

โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน

 

22-23 กุมภาพันธ์ 2561
 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น

 

จัดโดย

โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS)
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำกล่าวนำ (การประชุมวิชาการระดับชาติ - โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน)

ภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาสืบเนื่องยาวนาน องค์ความรู้และภูมิปัญญาของคนอีสานในด้านต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดและสืบทอดต่อกันผ่านวัฒนธรรมมุขปาฐะ ลายลักษณ์ รวมถึงงานศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งงานพุทธศิลป์และงานศิลปะพื้นถิ่น อาทิ ใบลาน ใบเสมา จารึก จิตรกรรม ประติมากรรม ผ้าทอ เป็นต้น ซึ่งนอกจากองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแล้ว ยังครอบคลุมถึงเรื่องทางโลก ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตำราความรู้รอบตัวที่ใช้ในการดำเนินชีวิต แสดงให้เห็นว่าชาวอีสานมีรูปแบบการถ่ายทอดและสืบสานสรรพความรู้ผ่านงานศิลปะอันหลากหลาย ทำให้ภูมิปัญญาความรู้ทั้งหลายยังคงอยู่อย่างยั่งยืน

 

โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีดำริร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของงานพุทธศิลป์ในการบันทึก และถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ รวมทั้งยังเป็นโอกาสสร้างเครือข่ายวิจัย ตลอดจนสร้างกลุ่มหัวข้อและระเบียบวิธีวิจัย ที่จะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประเทศชาติต่อไป

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา

 

ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการ - 22 กุมภาพันธ์ 2561 (การประชุมวิชาการระดับชาติ - โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน)

08.30 – 09.00

ลงทะเบียนและรับเอกสาร

 

09.00 – 09.15

 

พิธีเปิดการประชุม 

 

09.15 – 10.15

 

ปาฐกถานำ

 

ศิลปะการแทงหยวกภาคอีสาน : ความงาม ศรัทธา และภูมิปัญญาที่ยังคงอยู่
     รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ
     – สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ชมสาร อ่านศิลป์ : ลักษณะเด่นและความสำคัญของวรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ไทย
     ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี 
     – คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    

 

10.15 – 10.30

 

     รับประทานอาหารว่าง

 

10.30 – 11.30

 

ศิลปะร่วมสมัยกับพุทธศาสนา

 

การแสดงโอเปร่า-บัลเล่ต์ พระเนมิราช-เสด็จสวรรคาลัย
     พจน์ปรีชา ชลวิจารณ์
     – สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

มหาชนกชาดก กับการสร้างสรรค์ใหม่
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัค มหาวรากร
     – คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

11.30 – 13.00

 

     รับประทานอาหารกลางวัน

 

13.00 – 16.00

 

ตัวตนของคนอีสานในงานพุทธศิลป์

 

การนำเสนอภาพแทนผู้หญิงกับการประกอบสร้างสังคมในงานพุทธศิลป์อีสาน
     รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ
     – สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

อีสานศึกษาในนิทานโบราณคดี
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิทธิ์ กอบบุญ
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เอกสารใบลานล้านช้างก่อนและหลังการสร้างบ้านแปงเมืองภาคอีสาน 
     ดร.บุญชู ภูศรี
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

มนต์และยันต์ในลานก้อมวัดหนองคู : บทบาทหน้าที่ของภาษาและความหมายทางวัฒนธรรม
     ดร.สุทธินันท์ ศรีอ่อน
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

พิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม : แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาพุทธศิลป์เมืองอุบลราชธานี
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี ชัยวณิชยา 
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
     ปกรณ์ ปุกหุต
     – พิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม

กำหนดการ - 23 กุมภาพันธ์ 2561 (การประชุมวิชาการระดับชาติ - โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน)

09.00 – 09.30

 

ลงทะเบียน

 

09.30 – 11.30

 

โลกแห่งวรรณกรรมกับการสืบสานองค์ความรู้ท้องถิ่น

 

โลกกับธรรมในหมอลำกลอน
     ดร.คำล่า มุสิกา
     – คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

“โลก-ธรรม” ในกาพย์เซิ้งบั้งไฟผาแดงนางไอ่ : “ทุกข์-สุข” และการสืบสานภูมิปัญญาด้านภาษาและวัฒนธรรม
     ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ
     – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

จารึกวัดพระธาตุพนม : สารัตถะและความสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านช้าง
     ดร.อธิราชย์ นันขันตี
     – คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

 

ประวัติศาสตร์เมืองสกลนคร : ศึกษาจากศิลาจารึก
     ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สุรชัย ชินบุตร
     – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

11.30 – 13.00

 

     รับประทานอาหารกลางวัน

 

13.00 – 14.30

 

พุทธธรรมในศิลปะท้องถิ่น

 

ฮูปแต้มสินไซเดินดง : ฟันฝ่าทางโลก ค้นพบทางธรรม
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์  
     – คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

เกณฑ์การตัดสินความงามของฮูปแต้มในพุทธปรัชญา
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หอมหวล บัวระภา  
     – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

วิถีนาคา ภูมิปัญญาและโลกธรรมท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำโลก 
     ดร.แก้วตา จันทรนุสรณ์
     – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 

14.30 – 15.00

 

พิธีปิด

ศิลปะการแทงหยวกภาคอีสาน : ความงาม ศรัทธาและภูมิปัญญาที่ยังคงอยู่

รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ

 

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงอยู่ของศิลปะการแทงหยวกภาคอีสาน  ด้านรูปแบบการสร้างสรรค์ จุดมุ่งหมายและภูมิปัญญาที่ปรากฏด้านต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลจาก จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหลัก

 

ผลการศึกษาพบว่า การใช้กาบกล้วยหรือหยวกกล้วยมีมาคู่กับการประกอบพิธีเกี่ยวกับชีวิตในช่วงต่างๆของสังคมไทยและพัฒนาทั้งรูปแบบและจุดประสงค์มาตามกาลเวลาและใช้หลายโอกาส ทั้งงานมงคลและอวมงคล  การใช้กาบกล้วยมาสร้างเป็นลวดลายต่างๆโดยใช้มีดมีศัพท์เรียกว่า “การแทงหยวก” มีการจัดวางลวดลาย องค์ประกอบทางศิลปะและรูปทรงต่างๆตามฝีมือเชิงช่างในแต่ละท้องถิ่น โดยมีจุดประสงค์ที่มีความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นแกนสำคัญ  ศิลปะการแทงหยวกเป็นสิ่งที่มีคู่กับสังคมอีสานมายาวนาน และยังคงอยู่หลายจังหวัด แต่ได้ขาดหายไปจากการรับรู้ของสังคมภายนอก จังหวัดอุบลราชธานีมีช่างแทงหยวกสืบเนื่องมาแต่อดีตคือ แทงหยวกประดับจิตกาธานหรือเมรุเผาศพ แทงหยวกประกอบเป็นปราสาทผึ้งในงานออกพรรษา แทงหยวกประกอบเป็นหอปราสาทเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับในงานศพและอุทิศส่วนกุศลถึงผู้ญาติที่เสียชีวิตเพื่อให้ผู้ตายมีที่อยู่อันสวยงาม (หอปราสาทคือเมรุเผาศพหรือเปล่า?) ลวดลายการแทงหยวกมีลายฟันหนึ่ง ฟันสาม ฟันห้า ลายนกน้อยและลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองเช่นลายตีนเต่า ลายกาบเยือง ลายก้ามปูหรือลายเครือเถาต่างๆ ขนาดและรูปทรงของปราสาทที่ใช้การแทงหยวกประดับ จะแตกต่างกันไปแต่ละชุมชน การเรียนรู้และสืบต่อการแทงหยวกเป็นการเรียนรู้โดยธรรมชาติจากช่างใหญ่มาสู่คนในชุมชน ปัจจุบันบ้านโพนทราย ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการรื้อฟื้นและสืบทอดศิลปะการแทงหยวกแก่ผู้ใหญ่และเยาวชนโดยผ่านการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนและการอบรม โดยช่างในชุมชนยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดและเรื่องการแทงหยวกนี้  ได้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างขึ้นว่า สิ่งนี้ยังคงมีอยู่ในภาคอีสานมิได้เลือนหายไป แต่อย่างใด เพียงแต่การรับรู้ของสังคมภายนอกยังน้อยอยู่เท่านั้น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ชมสาร อ่านศิลป์ : ลักษณะเด่นและความสำคัญของวรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

 

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับศิลปะแขนงอื่นลักษณะหนึ่งที่ปรากฏในสังคมไทยมาช้านาน คือการสร้างและนำเสนอวรรณคดีกับทัศนศิลป์ประกอบคู่กัน อันทำให้ผู้ชมได้รับรสจากศิลปะ 2 แขนงพร้อมกัน คือรสจากวรรณศิลป์และทัศนศิลป์ เช่น โคลงภาพรามเกียรติ์ที่วัดพระเชตุพน โคลงภาพสุภาษิตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ร้อยกรองจารึกลับแลประทีปที่บางปะอิน โคลงภาพพระราชพงศาวดารในสมัยรัชกาลที่ 5 และร้อยกรองจารึกอนุสาวรีย์ผู้วายชนม์ วรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ดังกล่าวนี้เป็นวรรณคดีกลุ่มหนี่งที่น่าสนใจนำมาศึกษา เนื่องจากรังสรรค์ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษ คือเพื่อใช้คู่กับทัศนศิลป์โดยเฉพาะ ทั้งยังปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของทัศนศิลป์นั้นด้วย วรรณคดีกลุ่มนี้จึงน่าจะมีลักษณะพิเศษและบทบาทความสำคัญที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างวรรณคดีกับศิลปะแขนงอื่นในอีกมิติหนึ่ง บทความนี้จึงจะมุ่งศึกษาลักษณะเด่นของวรรณคดีประกอบคู่ทัศนศิลป์ดังกล่าว ทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ และศิลปะการประพันธ์ รวมทั้งศึกษาความสำคัญและคุณค่าของวรรณคดีกลุ่มดังกล่าว

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

การแสดงโอเปร่า-บัลเล่ต์ พระเนมิราช-เสด็จสวรรคาลัย

พจน์ปรีชา ชลวิจารณ์

 

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

บทความนี้กล่าวถึงการนำเนมิราชชาดกมาประยุกต์เป็นการแสดงโอเปร่า เรื่อง "พระเนมิราช–เสด็จสวรรคาลัย" (Chariot of Heaven) ประพันธ์และอำนวยการสร้างโดย สมเถา สุจริตกุล ศิลปินรางวัลศิลปาธร บทความศึกษาประเด็นที่สมเถาได้นำบทที่ 4 ในทศชาติชาดกมาตีความและเรียบเรียงเป็นการแสดงโอเปร่า-บัลเลต์ รวมถึงการวิเคราะห์บทละคร ดนตรี และการสื่อสารด้วยภาพในแต่ละฉากการแสดง ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงศิลปะการแสดง การแสดงชุดนี้ไม่เพียงนำเรื่องจักรวาลวิทยาในเชิงพุทธศาสนาและเรื่องกฏแห่งกรรมมาตีความใหม่เท่านั้น แต่ยังพยายามสื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจใจความสำคัญของชาดก ได้แก่ ความเป็นกษัตริย์ เนกขัมมะ และอธิษฐานบารมี

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

มหาชนกชาดก กับการสร้างสรรค์ใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัค มหาวรากร

 

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

มหาชนกชาดกในพระไตรปิฎกนำมาสร้างสรรค์ในสังคมไทยหลากหลายรูปแบบ โดยมีบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็น “ต้นแบบ” สำคัญ แสดงถึง “วิริยะ” คือความเพียรหรือความกล้า กล่าวคือ กล้าทำความดี กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง

 

มหาชนกชาดกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโอเปร่า ละครเวที หนังสือการ์ตูน การ์ตูนอนิเมชั่น ยังคงปรากฏแนวคิดเรื่อง “วิริยะ” เป็นสำคัญ ดังนั้นการนำเสนอเรื่องพระมหาชนกแก่เยาวชนในสื่อการ์ตูน นับเป็นวิธีการหนึ่งในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเรื่องวิริยะแก่เยาวชนซึ่งเริ่มทำได้ด้วยตนเอง นำไปสู่ประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ เป็นการอธิบายและเรียนรู้ “โลกกับธรรม” ในสังคมไทยปัจจุบันเพื่อแสดงให้เห็นว่า “คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร”

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

การนำเสนอภาพแทนผู้หญิงกับการประกอบสร้างสังคมในงานพุทธศิลป์อีสาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ

 

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

การศึกษาเรื่องภาพแทนผู้หญิงกับการประกอบสร้างสังคมในงานพุทธศิลป์อีสานนี้ ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ภาพแทนผู้หญิงจากงานพุทธศิลป์ในชุมชนอีสาน ได้แก่ จิตรกรรมจากสิมวัดไชยศรีและวัดสระบัวแก้ว จ.ขอนแก่น ประติมากรรมพระยืน จ.มหาสารคาม หลวงพ่อพระใส จ.หนองคาย และสถาปัตยกรรมธรรมมาสน์สิงห์วัดศรีนวล จ.อุบลราชธานี รวมทั้งข้อมูลพุทธศิลป์อื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในชุมชนท้องถิ่นอีสานโดยได้นำมาใช้ประกอบในการเปรียบเทียบและเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อพิจารณาให้เห็นถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีบทบาทความสำคัญต่อการนำเสนอภาพผู้หญิงในหลากรูปแบบหลายลักษณะ

 

จากการศึกษาพบว่า สังคมพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการให้นิยามความหมายของผู้หญิงซึ่งถูกประกอบสร้างให้เป็นผู้มีส่วนร่วมในชีวิตทางพระพุทธศาสนา อันเกิดจากการมองบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงที่มีต่อสังคมในแบบจารีตดั้งเดิม ซึ่งเคยเชื่อถือกันมาแต่อดีต ในขณะเดียวกันก็มีการนำเสนอให้เห็นว่า ผู้หญิงเป็นเพศกระแสรองในโลกทางพระพุทธศาสนาเนื่องด้วยอิทธิพลของแนวคิดแบบปิตาธิปไตยที่ได้เข้ามาครอบงำ จากการวิเคราะห์การประกอบสร้างสังคมผ่านภาพนำเสนอผู้หญิงในงานพุทธศิลป์อีสานยังพบว่า มีความสอดคล้องกับโครงสร้าง ค่านิยม และโลกทัศน์ทางสังคมที่มีลักษณะเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบชาวบ้าน อีกทั้งยังสามารถ สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ทางสังคมการเมืองได้อีกประการหนึ่ง ผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า งานพุทธศิลป์อีสานนั้นเป็นกลไกในการประกอบสร้างสังคม โดยใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองและช่วงชิงนิยามความหมายว่าด้วยผู้หญิงในวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นมิติความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิงชาย รวมทั้งความคิดทางโลกและทางจิตวิญญาณได้อย่างน่าสนใจ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

อีสานศึกษาในนิทานโบราณคดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิทธิ์ กอบบุญ

 

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

หนังสือนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทรงนำเสนอข้อเท็จจริงที่พระองค์ทรงพบประกอบกับพระวินิจฉัยอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เกิดข้อความรู้มากมาย ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับอีสานศึกษานั้น ทรงเล่าเรื่องเมื่อครั้งที่ทรงเสด็จตรวจราชการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2449 พระองค์ทรงถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรม ในบริบทสังคมอีสานด้วยมุมมองของนักการศึกษาที่ใช้ความรู้แบบสหวิทยาการ เพื่อวิเคราะห์ วินิจฉัย และแสดงความคิดเห็นที่ทรงมีต่อสังคมอีสาน ข้อมูลและความคิดของพระองค์เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความเข้าใจระบบการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ของส่วนกลางกับท้องถิ่น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอาณาบริเวณศึกษาในภูมิภาคอีสานในสมัยนั้น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

เอกสารใบลานล้านช้างก่อนและหลังการสร้างบ้านแปงเมืองภาคอีสาน

ดร.บุญชู  ภูศรี

 

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเอกสารใบลานล้านช้างก่อนและหลังการสร้างบ้านแปงเมืองของภาคอีสาน เพื่อเปรียบเทียบรูปลักษณ์อักษรและรูปแบบการบันทึกกับเอกสารที่พบในช่วงเดียวกันในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสันนิษฐานการเข้ามาของเอกสารล้านช้าง

 

ผลการศึกษาพบว่ามีเอกสารใบลานก่อน พ.ศ. 2256 จำนวน 8 ฉบับ เอกสารใบลานช่วงระหว่าง พ.ศ. 2157-2308 พบจำนวน 8 ฉบับ และเอกสารหลัง พ.ศ. 2308 ที่มีพระนามของกษัตริย์ล้านช้าง พบเพียง 1 พระนาม คือ สมเด็จบรมบพิตรสีหตนุราชาธิปติภูมินทราธิราชเจ้า (เจ้าอนุวงศ์) จำนวน 4 ฉบับ โดยพบที่จังหวัดอุบลราชธานี 8 ฉบับ ยโสธร 3 ฉบับ ร้อยเอ็ด 3 ฉบับ มหาสารคาม 2 ฉบับ สกลนคร 1 ฉบับ และศรีสะเกษ 1 ฉบับ ส่วนเอกสารใบลานที่มีพระนามของเจ้าอนุวงศ์พบที่วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4 ฉบับ การศึกษาเปรียบเทียบอักษรและรูปแบบการบันทึกมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับเอกสารใบลานในช่วงเดียวกันที่ปรากฏในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งสันนิษฐานแหล่งที่มาหลายทางด้วยกัน คือ 1) เข้ามาจากการย้ายถิ่นฐานจากอาณาจักรล้านช้างมาตั้งบ้านแปงเมืองในภาคอีสาน 2) เข้ามาจากการทำสงครามช่วงเจ้าอนุวงศ์ ส่วนเส้นทางที่เข้ามาสันนิษฐานว่า 1) เข้ามาทางเมืองจำปาศักดิ์ โดยเมืองจำปาศักดิ์นำเอกสารใบลานส่วนหนึ่งมาจากหลวงพระบาง แล้วเคลื่อนย้ายมาพร้อมกับผู้คนอพยพเข้าสู่ภาคอีสาน 2) เข้ามาในช่วงพระวอพระตา และพระโสมพะมิตรย้ายจากเวียงจันทน์ มาตั้งถิ่นฐานในภาคอีสาน และ 3) เข้ามาภายหลังจากกรณีเจ้าอนุวงศ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2369-2371

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

มนต์และยันต์ในลานก้อมวัดหนองคู : บทบาทหน้าที่ของภาษาและความหมายทางวัฒนธรรม

ดร.สุทธินันท์  ศรีอ่อน

 

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษามนต์-คาถาในเอกสารลานก้อมวัดหนองคู ต.โนนโหนน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นเอกสารลานก้อมผูกเดียวเท่าที่ปรากฏในเอกสารสำรวจข้อมูลหนังสือใบลานจังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2545) ที่รวมเอาทั้งคาถาและยันต์ไว้ด้วยกัน

 

ผลการศึกษาพบว่า เอกสารลานก้อมวัดหนองคูเป็นเอกสารลานก้อมจำนวนน้อยที่จารมนต์-คาถาไว้ จากข้อมูลมนต์และคาถาทั้งหมดที่พบในลานก้อมทั้ง 2 ผูก แสดงว่า 1) ภาษาบาลีมีบทบาทหน้าที่สร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับมนต์-คาถาในสังคมอีสานส่วนหนึ่ง  ภาษาบาลีสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของภาษาที่เชื่อมอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ ภาษาบาลีทั้งที่แปลความได้และแปลความไม่ได้ต่างก็มีแก่นของความศักดิ์สิทธิ์ซ่อนอยู่  2) มนต์-คาถาในลานก้อมที่เป็นภาษาบาลีมีหน้าที่สำคัญทั้งในแง่ของการเสกเป่าและลงเลขยันต์สำหรับเสริมสร้างสิริมงคล กำลังใจ ป้องกันและแก้ไขสิ่งเลวร้าย 3) มนต์และยันต์ในลานก้อมที่เป็นภาษาบาลีสะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อของชุมชนที่มีพระพุทธศาสนาเป็นแกนหลัก และ 4) เนื้อหาของมนต์และยันต์ในลานก้อมวัดโนนคูณเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ธรรมชาติ  ความจำเป็นพื้นฐานที่สัมพันธ์กับมนต์คาถา ยันต์ และศาสนาพุทธแบบชาวบ้านเฉพาะถิ่นอีสาน ซึ่งต่างมีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของผู้คนในอีสานและสะท้อนถึงมุมมองทางวัฒนธรรมอีสานได้ส่วนหนึ่ง

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

พิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม : แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาพุทธศิลป์เมืองอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี ชัยวณิชยา

 

สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ปกรณ์ ปุกหุต

 

คณะกรรมการและเลขานุการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม

 

 

วัดมณีวนารามเป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์และพุทธศิลป์แห่งเมืองอุบลราชธานี วัดมณีวนา  รามก่อตั้งประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยมีพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) เป็นเจ้าอาวาสวัด พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) เป็นพระเถระที่มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาในด้านพุทธศิลป์ ดังจะเห็นได้จากการก่อสร้างกุฏิพระอริยวงศาจารย์ หรือ “กุฏิแดง” วัดมณีวนาราม หอพระพุทธบาท และหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง นอกจากนี้พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) ยังเป็นผู้ริเริ่มให้วัดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม มรดกและภูมิปัญญาเมืองอุบลราชธานีให้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน อันเป็นที่มาของพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม กล่าวคือมีการ ดำเนินงานจัดพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนารามให้เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญา พุทธศิลป์เมืองอุบลราชธานี ซึ่งมี โบราณสถานสำคัญเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมถึง 3 หลัง ได้แก่ กุฏิพระอริยวงศาจารย์ (กุฏิแดง) กุฏิธรรมระโต และกุฏิใหญ่ ทั้ง 3 กุฏินี้ ได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชนศรีเมือง อุบลราชธานี ประวัติพระบูรพาจารย์ อีกทั้งจัดแสดง นิทรรศการประกอบด้วย พุทธศิลป์  ได้แก่ โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ เอกสารโบราณ ภาพถ่ายเก่า ดังนั้นการนำเสนอผลงานวิชาการนี้จึงมุ่งเสนอให้เห็นความสำคัญของ พิพิธภัณฑ์วัดมณีวนารามอันเป็นแหล่งเรียนรู้  มรดกภูมิปัญญา พุทธ์ศิลป์เมืองอุบลราชธานี เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์มรดกทางพุทธศิลป์ถิ่นเมืองอุบลราชธานีที่มีความเป็นมากว่า 100 ปี

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

โลกกับธรรมในหมอลำกลอน

ดร.คำล่า มุสิกา

 

สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

หมอลำกลอนมีเนื้อหากลอนลำทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อเป็นการสื่อสาร สั่งสอน และเตือนสติ ผู้ที่มาฟังลำเสมอมาอย่างไม่เคยละทิ้งได้ เนื้อหาสาระในกลอนลำเป็นสิ่งที่ทำให้หมอลำ และ กลอนลำ มีคุณค่าต่อจิตใจผู้ชม ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจในทางโลกและทางธรรมผ่านสาระของกลอนลำ เนื้อหาสาระของหมอลำกลอนเห็นได้อย่างเด่นชัดว่ามีทั้งการสอนเรื่องทางโลก และการสอนทางธรรม กลอนลำทางโลก อาทิ กลอนประวัติศาสตร์ ชีวิตชาวนา อีสานแล้ง เต้ยเกี้ยว ล่องโขง เฮือนสามน้ำสี่  กลอนทางธรรม อาทิ ธรรมสอนโลกธรรมสอนใจ เฉลยปัญหาธรรม กลอนศีลห้า คติธรรม นิทานชาดก พุทธประวัติ ปัจจุบันคุณค่าแห่งกลอนลำได้ถูกมองข้ามไป เนื่องจากบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับเปลี่ยนเนื้อหาและการแสดงให้มีความร่วมสมัย ลดเนื้อหาเชิงคำสอนลง เพิ่มความสนุกสนานตามค่านิยมของยุคสมัยเพื่อความอยู่รอดของคณะหมอลำ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

“โลก-ธรรม” ในกาพย์เซิ้งบั้งไฟผาแดงนางไอ่ : “ทุกข์-สุข” และการสืบสานภูมิปัญญาด้านภาษาและวัฒนธรรม

ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ

 

สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

เรื่องผาแดงนางไอ่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแถบจังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม พื้นที่เหล่านี้มีชื่อบ้านและสถานที่ต่างๆ ที่มีชื่อเรียกสัมพันธ์กับเรื่องผาแดงนางไอ่ เรื่องผาแดงนางไอ่เกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม วรรณกรรม และวิถีชีวิตของคนอีสานมาช้านาน จึงน่าสนใจศึกษาว่า วรรณกรรมเรื่องนี้มีสาระธรรมอะไรบ้างที่แสดงให้เห็น “โลก-ธรรม” “ทุกข์-สุข” อันจะสามารถนำไปเป็นปรัชญาเพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และคนอีสานมีการสืบสานภูมิปัญญาด้านภาษาและวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยเรื่องผาแดงนางไอ่ผ่านประเพณีงานบุญบั้งไฟอย่างไร การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลจากวรรณกรรมกาพย์เซิ้งบั้งไฟผาแดงนางไอ่ แต่งโดย ทองพูล พรสวัสดิ์ และพงษ์ไทย เพชรดี (2545) และจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการเซิ้งบั้งไฟและประเพณีบุญบั้งไฟในจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมกาพย์เซิ้งบั้งไฟผาแดงนางไอ่แสดงให้เห็นสาระทั้งวิถีโลกและวิถีธรรม ด้านวิถีโลก ชีวิตคือ “ทุกข์” และ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น โลกนี้เป็นอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอน เรื่องผาแดงนางไอ่พบ “ความทุกข์” ทั้ง 8 จำพวกที่กล่าวไว้ในพุทธสูตร คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ อยากได้ไม่ได้เป็นทุกข์ จากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความเจ็บแค้นเป็นทุกข์ และสังขารเป็นทุกข์ ด้านวิถีธรรม พบว่า ความดีสูงสุดของมนุษย์ที่พึงกระทำให้ถึงระดับสูงสุดมี 4 ประการ คือ ความสุข ความสมบูรณ์ หน้าที่ และความปรารถนาดี ผู้วิจัยยังพบว่า “ความสุข” ซึ่งเป็นความดีสูงสุดของมนุษย์และเป็นจริยธรรมของโลกนั้น ส่วนใหญ่มิใช่ความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขจอมปลอมในแบบยุคสมัยวัตถุนิยม และจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยพบว่า คนอีสานมีวิธีการสืบสานภูมิปัญญาด้านภาษาและวัฒนธรรมโดยการสอดแทรกองค์ความรู้เรื่องผาแดงนางไอ่ในประเพณีบุญบั้งไฟ ทั้งการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ การสาธิตและแข่งขันการเซิ้งบั้งไฟ กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการสืบสานและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นหลังให้ตระหนักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมรากเหง้าของตนเองได้เป็นอย่างดี

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

จารึกวัดพระธาตุพนม : สารัตถะและความสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านช้าง

ดร.อธิราชย์ นันขันตี 

 

สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

 

 

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจารึกวัดพระธาตุพนมในประเด็นสารัตถะและความสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านช้าง ศึกษาจารึก จำนวน 26 แผ่น เป็น หลักจารึก จำนวน 5 แผ่น จารึกฐานพระพุทธรูป  จำนวน 15 องค์ จารึกลานโลหะ จำนวน 2 แผ่น จารึกแผ่นอิฐ จำนวน 3 แผ่น

 

ผลการศึกษาพบว่า จารึกวัดพระธาตุพนมมีอายุตั้งแต่ พ.ศ. 2046 – 2466 จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน และอักษรไทยน้อย สารัตถะที่พบ คือ การบูรณะพระธาตุพนม การอุทิศข้าโอกาส กิจกรรมทางศาสนา องค์ประกอบของจารึก คือ ผู้สร้างจารึก ได้แก่ กษัตริย์ล้านช้าง เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ เจ้าเมืองนครพนม เจ้าเมืองมุกดาหาร พระภิกษุ ขุนนาง ชาวบ้าน จุดมุ่งหมายของจารึก ได้แก่ การอุทิศให้ผู้ตาย สืบอายุ พระพุทธศาสนา เพื่อเสียเคราะห์ เพื่อบอกเรื่องราว

 

พระธาตุพนมมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านช้าง คือ เริ่มจากยุคของ พระเจ้าโพธิสาลราช  กษัตริย์ลาวล้านช้าง (พ.ศ. 2063-2093) ได้บูรณะพระธาตุพนมและสร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ  พระยานครหลวงพิชิตราชธานี เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ พ.ศ. 2157 ได้อุทิศข้าโอกาส พระครูโพนสะเม็ก  (พ.ศ. 2233-2335) ได้บูรณะพระธาตุพนม เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ลาวล้านช้างเวียงจันทน์ พระบรมราชา (สุตตา) เจ้าเมืองนครพนม พระยาจันทสุริยวงศา (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร (พ.ศ. 2349-2356) ได้ร่วมกันสร้างถนนหน้าองค์พระธาตุ และสร้างอุโบสถ ในปัจจุบันชาวอำเภอธาตุพนม เชื่อว่าตนเองเป็นลูกหลานของข้าโอกาส ยังสืบทอด ฮีตคองข้าโอกาสอย่างเคร่งครัด จะประกอบพิธีถวายข้าวพีชภาคและบุญเสียค่าหัว เป็นประจำทุกปี โดยมีเจ้าเฮือนสามเป็นผีศักดิ์สิทธิ์คอยควบคุมทางสังคมแก่ข้าโอกาส

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ประวัติศาสตร์เมืองสกลนคร : ศึกษาจากศิลาจารึก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ชินบุตร

 

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของจังหวัดสกลนคร ผู้เขียนใช้หลักฐานจากศิลาจารึก จำนวน 5 หลักซึ่งยังมีร่องรอยเหลือเค้าให้เห็น ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดสกลนครนั้นแต่เดิมตั้งอยู่บริเวณฝั่งหนองหาน(บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม) ที่เรียกว่าบ้านชระเลงและบ้านพะนุรพิเนา ซึ่งกลุ่มคนที่อยู่ตรงนี้คือกลุ่มขอม  ต่อมาเกิดฝนแล้งติดต่อกัน 7 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนเขมรได้อพยพกลับไปยังบ้านเมืองของตนเอง เมื่อเขมรหมดอำนาจลง อาณาจักรล้านช้างได้สถาปนาตัวเองขึ้น และได้สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ เรียกว่า เมืองเชียงใหม่หนองหาน ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บ้านชระเลง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านธาตุเชิงชุมกลายเป็นบ้านร้าง รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์พาไพร่พลมาอยู่ที่บริเวณบ้านธาตุเชิงชุม ซึ่งต่อมาเรียกว่า เมืองหนองหานหลวง และให้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเมืองสกลทวาปี และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนครตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน  การศึกษาเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของเมืองสกลนครในอดีตที่มีผู้คนหลายกลุ่มได้อาศัยอยู่ในแถบนี้ และมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานให้คนรุ่นปัจจุบันได้รับรู้ประวัติและความเป็นมาของจังหวัดสกลนครได้เป็นอย่างดี

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ฮูปแต้มสินไซเดินดง : ฟันฝ่าทางโลก ค้นพบทางธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์

 

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

ฮูปแต้มสินไซเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวอีสานนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแง่มุมด้านระบบความสัมพันธ์และสุนทรียธรรม จากการศึกษาพบว่าวรรณกรรมเรื่องสินไซได้รับความนิยมจากชุมชนชาวอีสาน ซึ่งเชื่อว่าสินไซเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า จึงมีการนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบฮูปแต้มมากที่สุดเรื่องหนึ่งในบรรดาเรื่องราวฮูปแต้มอีสาน ด้วยการเขียนภาพบนผนังสิม (โบสถ์) ซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นพื้นที่ทางธรรมร่วมกับเรื่องพระเวสสันดรและพระมาลัย รวมถึงเรื่องอื่นๆในทางพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองศรัทธาพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา สร้างบารมีและใช้เป็นสื่อธรรมะ ตลอดจนใช้เป็นภาพประดับศาสนสถานให้สวยงามเป็นศรีสง่าแก่วัดและชุมชน ฉากที่นิยมนำมาเขียนมากที่สุดคือ ”สินไซเดินดง” เนื่องจากเป็นฉากที่มีความอลังการมากที่สุดเพราะมีเรื่องราวการผจญภัยชวนให้ติดตาม ผู้ชมได้รับสุนทรีย์ครบทุกรส โดยเฉพาะการต่อสู้ของตัวละครเอก ได้แก่ สินไซ สังข์ สีโห กับงูชวง ยักษ์กันดาน ช้างฉัททันต์ ยักษ์ 4 ตน ยักษ์ขิณี พญาธร(ด่านนารีผล) ยักษ์อัสสมุขี ยักษ์กุมภัณฑ์ และพญานาค รวมถึงฉากเชยชมนางกินรี ซึ่งเป็นตอนที่ช่างเขียนมีอิสระในการแสดงออกอย่างเต็มที่ แต่หลายวัดไม่ได้นำเสนอครบทุกด่านด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ ซึ่งมีความต้องการเขียนหลายเรื่องร้อยเรียงกันผนวกกับเรื่องสินไซ เช่น ภาพสินไซตอนกำลังต่อสู้กับยักษ์กุมภัณฑ์ ฉากด่านนารีผล ฉากงูซวง ฉากต้นกัลปพฤกษ์ ฉากนางกินรี เป็นต้น นอกจากนี้ฮูปแต้มตอนสินไซเดินดงของวัดต่างๆ จะถูกนำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของช่างเขียน โดยมีศรัทธาและการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นพื้นฐานที่สำคัญไม่มีขนบด้านรูปแบบตายตัว แต่เน้นการแสดงออกตามจริต ทักษะ และจินตนาการของช่างแต่ละคน

 

สรุปได้ว่าฮูปแต้มสินไซมีความสัมพันธ์กับชุมชนอีสานมายาวนานนับจากอดีตถึงปัจจุบัน มีบทบาทเป็นสื่อสอนธรรมะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นที่สำคัญฮูปแต้มสินไซนับเป็นสื่อสุนทรีย์ไม่กี่ชนิดในอดีตที่ช่วยหล่อหลอมสร้างแรงบันดาลใจ เชื่อมโยงโลกและธรรมได้อย่างประสานกลมกลืน โดยเฉพาะฉากสินไซเดินดงที่อยู่ในความทรงจำของคนอีสานตลอดมา ปัจจุบันมีการนำฉากสินไซเดินดงไปปรับประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ผ่านการตีความใหม่ เช่น การนำไปสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น การส่งเสริมเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น ฮูปแต้มสินไซในบริบทร่วมสมัยจึงถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นวัตถุเพื่อการพัฒนาผ่านระบบการบริโภควัฒนธรรมซึ่งเป็นการลดทอนคุณค่าเชิงจิตวิญญาณของท้องถิ่น สู่การสร้างคุณค่าใหม่ผ่านนโยบายการพัฒนาของภาครัฐเป็นสำคัญ

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

เกณฑ์การตัดสินความงามของฮูปแต้มในพุทธปรัชญา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หอมหวล บัวระภา

 

สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดความงามของฮูปแต้มและเกณฑ์การตัดสินความงามของฮูปแต้มในพุทธปรัชญา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสืบค้นพุทธปรัชญาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลฮูปแต้มในสิมอีสาน พร้อมกับสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิชาการ และนำข้อมูลจากทุกส่วนมาศึกษาวิเคราะห์  นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (analytical descriptive) ผลการศึกษาพบว่า ฮูปแต้ม หมายถึง ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ความเชื่อตามประเพณี วิถีชีวิตของชาวบ้านทุกระดับที่ปรากฏอยู่ในสิม วิหาร หอไตร ฯลฯ ความงามของฮูปแต้มคือ สีสัน ทรวดทรวง ขนาด เส้น แสง และภาษาที่ประกอบเป็นแนวคิดเพื่อเป็นสื่อให้ผู้ชมเข้าถึงหลักธรรม และมีอำนาจที่ก่อให้เกิดความรู้สึกปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ รัก ต้องการ ยินดีชื่นชม ขึ้นในจิตใจของผู้คน  เกณฑ์การตัดสินความงามของฮูปแต้มในพุทธปรัชญา มี 2 ลักษณะคือ 1.ความงามของธรรม เป็นความงามที่เป็นวัตถุวิสัย เป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยตนเองไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินของคน 2. ความงามของคน และธรรมชาติ สัตว์ เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกและการตัดสินใจของคนแต่ละคน เป็นความงามที่เป็นอัตวิสัย ความงามของฮูปแต้มในทางพุทธปรัชญา จัดอยู่ในประเภทที่ 2 คือ เป็นความงามที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากเพทนาการ แต่สามารถพัฒนาและพัฒนาเข้าถึงเป็นเป็นความงามประเภทที่ 1 ได้

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

วิถีนาคา ภูมิปัญญาและโลกธรรมท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำโลก

ดร.แก้วตา จันทรนุสรณ์

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายทางสังคมของเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องพลังอำนาจของพญานาคผู้รักษาแหล่งน้ำสำคัญในจังหวัดบึงกาฬ  คือ หนองกุดทิง และ บึงโขงหลง ซึ่งภายหลังกลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่มีความสำคัญระดับสากล โดยอาศัยแนวคิดนิเวศวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ความทรงจำ เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ตัวบทหลากประเภท

 

การศึกษาพบว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับพญานาคในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองกุดทิงและบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ สัมพันธ์กับมโนทัศน์เรื่องความรัก  ความปรารถนา ความโลภ  ความขัดแย้ง  การยึดมั่นในสัจจะ การอุปถัมภ์ศาสนา การเกื้อกูลมนุษย์ผู้มีคุณธรรม รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างภพชาติ  แม้ว่าปัจจุบันบริบททางเศรษฐกิจสังคมได้เข้าสู่ยุคทุนนิยมเสรี แต่กลุ่มคนต่างๆ ในท้องถิ่นได้นำเรื่องเล่าพญานาคมาตีความและเล่าเรื่องใหม่ให้ทรงอำนาจยิ่งขึ้นหลากหลายรูปแบบ ในฐานะมรดกภูมิปัญญาความรู้ด้านวัฒนธรรมและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

The Art of Isan Thang Yuoak, Banana Stalk Carving : Aesthetics, Faith and Wisdom

Associate Professor Weena Weesapen

 

The Research Institute of Northeastern Art and Culture, Mahasarakham University

 

 

This article aims to study the Isan art of banana stalk carving with respect to its creative styles, purposes and wisdom. The study mainly focuses on the craving art in Ubon Ratchathani province.

 

The findings indicate that banana stalk carving art has existed along with other rituals in Thai society, with the carving styles having been developed through time. This type of art has been used for different occasions and for different purposes, both auspicious ceremonies and funerals. Decorating banana stalks in this manner with a carving knife is called “Thang Yuoak”. Pattern styles, artistic compositions and forms depend on the unique skills of the artists. Importantly, this artwork represents the Buddhist beliefs of the artists.  The art of carving banana stalks has come a long way with Isan society. Although still remaining in many communities in Isan, such art work has lost its place in other regions of Thailand.  In Ubon Ratchathani province, banana stalk carving is used to decorate crematoriums, as well as to decorate wax castles on Buddhist Lent Day, and decorate the cremation chamber in funerals to dedicate merit so that the dead will have a beautiful place to live in their afterlife. In Ubon Ratchathani, artists use many different patterns of banana stalk carving. The common patterns are the one tiered roof pattern, the three tiered roof pattern, the five tiered roof pattern, and the bird pattern. Some artists also create their own unique patterns, such as Tin Tao, Karb Yueng, Kam Poo and Krue Tao. Sizes and shapes of the banana-stalk-decorated castles or the cremation chambers are unique in each local community. The carving knowledge has been inherited and passed down from the master artists to the younger generation in the community. Nowadays, Ban Pon Sai Village in Ban Thai Sub-district, Kueng Nai District, Ubon Ratchathani has revived the art of banana stalk carving. Through schools and training programs, such carving art is taught by skillful artists. While it is widely known that there is such art in the Isan region, not many people are fully aware of its existence.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Characteristics and Significance of the Literary Works Presented along with Thai Visual Arts

Assistant Professor Dr Thaneerat Jatuthasri

 

Faculty of Arts, Chulalongkorn University

 

 

There has been a strong connection between Thai literature and visual arts throughout history. One of the types of the relationships is that of the presentation of literary works as parts of the visual arts, such as Khlong Phap Ramakien at Wat Phra Chetuphon, Khlong Phap Suphasit at Wat Phra Kaeo, Charuek Lablae Pratip at Bang Pa-In Palace, Khlong Phap Phraratchaphong sawadan, and the poetry carved on the monuments. Those literary works were intentionally composed to specifically combine with the visual arts in order to describe or explain the arts, so that the audience can appreciate both literary and visual arts at the same time. As those literary works have the specific function and purpose related to the other arts, this gives a rationale for the study to examine the form, content, and literary techniques of those literary works as well as to analyse the significance and value of the works as parts of the visual arts.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Nemiraja Opera-Ballet

Pojpreecha Cholvijarn

 

Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University

 

 

This paper explores the Nemiraja Jataka and its operatic adaptation, Chariot of Heaven, by Distinguished Silpathorn Artist Somtow Sucharitkul. The paper discusses how Chariot of Heaven, the fourth episode in Somtow’s ten-part Dasajati music drama cycle, is interpreted and translated into an opera-ballet by the composer/director. Each scene shall be shown and examined textually, musically and visually, both from an academic and from a performance point of view. This opera-ballet not only provides a reinterpretation of traditional Buddhist cosmology and the law of karma, but also attempts to convey to the audience the Jataka’s central themes regarding kingship, renunciation and the perfection of resolve (อธิษฐานบารมี).

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Mahajanaka Jataka and New Creation

Assistant Professor Dr Supak Mahavarakorn

 

Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University

 

 

In Thai society, Mahajanaka Jatakas from the Tripitaka has been reproduced in many forms. The story of Mahajanaka Jataka of King Bhumibol is an important model of the reproduced versions of Mahajanaka Jataka that conveys the message of Viriya regarding perseverance or courageousness to conduct good or right deeds.

 

Many forms of Mahajanaka Jatakas have been created – operas; stage plays; cartoon books; animation – all conveying the messages of Viriya. Mahajanaka Jataka in cartoon form is an approach to educate young people about the morality of perseverance they can undertake by themselves that can lead to benefits for society and country. Furthermore, Mahajanaka Jataka cartoons explain “World and Dharma” and encourages young Thai people in current society to learn that man abandons suffering because of perseverance.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Representation of Women and Social Construction in Isan Buddhist Art

Associate Professor Dr Pathom Hongsuwan

 

The Research Institute of Northeastern Art and Culture, Mahasarakham University

 

 

This study aims to analyze the representation of women in Isan Buddhist art through moral paintings at Chai Sri and Sra Bua Keaw temples in Khon Kean province, Pra Yuen sculpture in Mahasarakham province, Buddha images of Pra Sai in Nong Kai province, Lion Pulpits in Ubon Ratchathani province, as well as other Buddhist art in Isan communities. This study uses comparisons and linkages to consider the social and cultural contexts that play an important role in the presentation of women in various ways.  Some studies have found that Buddhist societies have an influence on the definition of the meaning of women, which is created as a part of Buddhist life. This is due to the traditional role of women in society that has been inherited from the past.  It has been proposed that women are considered secondary gender in the Buddhist world because of the influence of patriarchal ideology. The analysis of the social construction through representation of women in the Northeast area found the structure of values and social worldviews are characteristic of traditional folk culture, which reflects social and political ideology. The results of this study indicate that Isan Buddhist Art is used as a device of social construction for negotiation and contestation to define the meaning of women in local culture and also the dimension of power relations between males and females, including the concept of spirituality.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Isan Studies in Nithan Borankhadi

Assistant Professor Dr Pisit Kobbun

 

Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University

 

 

Nithan Borankhadi are historical anecdotes composed by Prince Damrong Rajanubhab. He told many stories by adding personal knowledge or experience to the topic – geography, history, archeology and customs. In the area of Isan studies, he narrated stories when he was the inspectorate in the Northeast in 1906. Prince Damrong conveyed history, politics, governance, ways of life, living and cultural tradition in the context of Isan society. He provided information with the view of an educator using interdisciplinary knowledge to analyze, diagnose and express opinions regarding Isan society. His information and thoughts are very useful for understanding the ways of life and the relationship between central and local administration, which is significant to area studies of Isan region today.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Lan Xang Manuscripts Before and After the Formation of Isan Cities

Dr Boonchoo Poosri

 

Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University

 

 

The findings from this study are based on eight palm-leaf manuscripts written before 2256 BE, eight palm-leaf manuscripts written between 2157 BE and 2308 BE, and four palm-leaf manuscripts written after 2308 BE that mentioned King Somdet Boromapit Sihatanu Rajathipatiphumintaratirat (Chao Anouvong) of Lan Xang Kingdom. These manuscripts were found in several Isan provinces: eight manuscripts were found in Ubon Ratchathani, three manuscripts were found in Yasothorn, three manuscripts were found in Roi Et, two manuscripts were found in Maha Sarakham, one manuscript was found in Sakon Nakhon, and one manuscript was found in Sri Saket. In addition, four manuscripts that mention the name of Chao Anouvong were found in Wat Mani Wanaram (Wat Pa Noi), Ubon Ratchathani province.

 

A comparison of the script and the writing style indicate that they are similar to those found in the Lao People’s Democratic Republic in the same period. It is assumed that these manuscripts were brought to the Isan area during: 1) the migration from Lan Xang Kingdom and 2) the Chao Anouvong Rebellion. The manuscripts were likely brought to Isan in the following routes: 1) from the city of Champasak – previously, some of these manuscripts were taken from Luang Prabang to Isan during migration; 2) brought to Isan when Phra Wor Phra Ta and Phra Sompamit moved from the Vientiane to settle in Isan; and 3) taken to Isan after the Chao Anouvong Rebellion between 2369 BE and 2371 BE.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Mantras and Yans in Short Palm-Leaf Manuscripts of Wat Nong Gu : Functions of Language and Cultural Meanings

Dr Suttinun Sri-On

 

Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University

 

 

This article aims at studying mantras and spells in a short palm-leaf manuscript of Wat Nong Gu, Non None Sub-district, Warin Chamrab District, Ubon Ratchathani. This manuscript is a set of palm-leaf documents mentioned only in Ubon Ratchathani’s Survey Report of Palm Leaf Manuscripts (2545 BE) that includes spells and yans.

 

The findings indicate that the short palm-leaf manuscript of Wat Nong Gu contained mantras and spells. The two sets of short palm-leaf manuscript demonstrate the following.  1) The use of Pali language added sacredness to the mantras and spells in Isan communities. The use of Pali reflects the role of language in terms that it is linked to sacredness. Therefore, Pali, either translatable or untranslatable, held hidden sacredness. 2) Pali mantras and spells in the short palm-leaf manuscripts have played an important role in enhancing good luck, encouraging people and protecting them from evil. 3) Mantras and yans in the Pali language reflect local beliefs mainly based on Buddhist principles. 4) The content of the mantras and yans in the short palm-leaf manuscript of Wat None Koon partially indicates the folk culture, natural belief system, basic needs in relation to mantras and yans, and Isan style Buddhism. All of these can be correlated with Isan people’s ways of life and cultural perspectives.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Museum of Wat Mani Wanaram : A Source of Cultural Heritage, and Wisdom of Buddhist Art of Ubon Ratchathani

Assistant Professor Dr Somsri Chaiwanichaya

 

Faculty of Liberal Arts. Ubon Ratchathani University

 

Pakorn Pukahuta

 

Museum of Wat Mani Wanaram

 

 

Wat Mani Wanaram is a famous temple in Ubon Ratchathani province that plays an important part in Thai history and Buddhist art. The temple was established around the reign of King Rama III. At the time, the abbot of the temple was Phra Ariyawongsajarn Yannawimol Ubonsankhapamok (Sui). Having a keen knowledge and wisdom in Buddhist art, he applied Buddhist architecture style to the construction of the monastic residence, Kuti Phra Ariyawongsajarn or “Kuti Deang (the Red Residence)” of Wat Mani Wanaram, Hor Phra Bhuddabhat and Hor Trai of Wat Tung Sri Muang. In addition, Phra Ariyawongsajarn originated the idea of making the temple a center of worldly and moral knowledge, as well as the cultural heritage and wisdom of Ubon Ratchathani. This is the original purpose of Museum of Wat Mani Wanaram. The museum has become a learning center of cultural heritage and wisdom of Buddhist art of Ubon Ratchathani. The temple contains three historic residences that portray the architectural styles of Buddhist art including Kuti Phra Aryawonsajarn (Red Residence), Kuti Dharmarato, and Guti Yai. These three residences are used as the learning center of the temple’s history, the Sri Muang community of Ubon Ratchathani, and as a biography of highly-respected monks. They are also used to exhibit Buddhist art, including ancient artifacts, ancient artworks, ancient manuscripts and old photos. This article aims at showing the importance of the Museum of Wat Mani Wararam as a source of cultural heritage and wisdom of Buddhist art of Ubon Ratchathani in order to preserve the Buddhist art heritage that dates back over 100 years.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Worldly and Dharma in Mo Lam Klon

Dr Khamla Musika

 

Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University

 

 

Mor Lam Klon (traditional Isan folk performance) uses Isan song lyrics with both worldly and Dharma subject matter in order to communicate and instruct the audience. The other roles of Mor Lam Klon are to instruct and create social and moral awareness. The subject matters of Mor Lam Klon can develop the audience’s mind in that they help the audience gain an insight into worldly life and Dharma wisdom.  Generally, Mor Lam Klon includes two subject matters: the worldly life and Dharma wisdom. The worldly life themes typically include historical lyrics, rural life of Isan farmers, drought, courtship, Lham Loang Khong, and Ruan Sam Nam Si.  The Dharma song lyrics commonly include the Dhammada Sorn Loke (teachings of the Buddha), Dhamma Puzzles (questions and answers about Dharma principles), the five precepts (sila / the five precepts of Buddhism), morals, Jataka Tales, and the biography of the Buddha. Nowadays, the worth of Mor Lam Klon is overlooked because of the impact of social changes in modern Thai society. To survive against such social forces, Mor Lam Klon needs to adapt. Accordingly, Mor Lam Klon has developed new subject matter and has modernized the performance style. It is apparent that the modern Mor Lam Klon presents less didactic content in more appealing and entertaining style in order to conform to the current trend and for the survival of Mo Lam Klon groups.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

“Loka-Dharma” in Phadaeng Nang Ai : “Suffering-Happiness” and the Inheritance of Language and Cultural Knowledge

Dr Itsarate Dolphen

 

Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

 

 

Phadaeng Nang Ai is well-known widely in Northeast Thailand, especially in Udon Thani, Khon Kaen, Kalasin and Maha Sarakham. These regions have many place names related to this particular piece of literature. Phadaeng Nang Ai has been associated with tradition, culture and the way of life of Isan people for a long time. It is interesting to study whether or not this literature illuminates “loka-dharma”, “suffering-happiness” dharmic principles that can be used as a philosophy of life, and how Isan people inherit their language and cultural knowledge associated with Phadaeng Nang Ai and Boun Bung Fai, or the rocket festival. The data for this study was collected from Phadaeng Nang Ai literature composed by Thongphoon Pornsawat and Phongthai Petdee (2002), and from an observation of the rocket festival, as well as in-depth interviews done with Isan people in Khon Kaen province. The results reveal that Phadang Nang Ai literature illuminates the important principles of both loka and dharma. For the loka principle, all life is suffering. The circle of life known as birth, old age, sickness and death, is dukkha or suffering.  The world is impermanent – everything is subject to change and alteration. As mentioned in Buddhism, there are eight causes of suffering as found in the story of Phadaeng Nang Ai: birth, old age, sickness, death, unsuccessful desire, departing form beloved things, resentment, and body. As for the Dharmic principles, it was found that the best goodness that can be performed to the highest level by human beings are: happiness, perfection, duty and good will. It was also found that “happiness”, one of the best goodness of human beings and world ethics, is not a real happiness, but a fake happiness in the age of materialism. From my observation and in-depth interviews, it was found that Isan people inherit their language and cultural knowledge by associating knowledge of Phadaeng Nang Ai with the rocket festival, such as a parade and rocket procession contest, a demonstration and competition of Seing Bung Fai. These activities are the inheritance of Isan cultural heritage from generation to generation. They help to encourage new generations to be proud of their own cultural roots.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Inscriptions of Wat Phra That Phanom : Essence and Importance in the History of Lan Xang Kingdom

Dr Athiratch Nunkantee

 

Faculty of Education, Nakhon Phanom University

 

 

This article aims at studying the inscriptions of Wat Phra That Phanom regarding their essence and importance in the history of the Lan Xang Kingdom. There are 25 inscriptions including five stone inscriptions, 15 Buddha image base inscriptions, two metal inscriptions and three brick inscriptions.

 

The findings indicate that the inscriptions of Wat Phra That Phanom were made between 2046-2466 BE. They were written in Isan Dhamma and Thainoi script. The essence of the inscriptions of Wat Phra That Phanom is the restoration of Wat Phra That Phanom Pagoda, the dedication of the khaokasa, those slave dedicated to Phra That Phanom as minders to take care of this pagoda, and religious activities. Makers of the inscriptions were the Lan Xang king, a ruler of Sri Kotaboon, a ruler of Nakhon Phanom, a ruler of Mookdaharn, monks, noble lords and townsfolk. The purposes of making the inscriptions were to dedicate merit to the dead, preserve Buddhism, exorcise-remove one's bad luck with a ceremony and narrate stories.

 

Phra That Phanom Pagoda was important in the history of Lan Xang Kingdom. Initially, King Phodhisalaratch of Lan Xang (2063-2093 BE) restored Phra That Phanom and built the Buddha image. In 2157 BE, Phraya Nakhon Pichitthani, the ruler of Sri Kotaboon dedicated the khaokasas. Pra Kru Ponsamek (2233-2335 BE) then restored Phra That Phanom Pagoda. King Anouvong, the monarch of Kingdom of Vientiane, Phraboromaracha (Sutta), the ruler of Nakhon Phanom, and Phraya Chanta Suriyawongsa (King), the ruler of Mookdahan cooperated to build a road in front of the pagoda. They also built the ubosot (the main chapel). Nowadays, the people of That Phanom District believe they are descendants of these khaokasas. They strictly follow the Isan tradition (heet kong). Every year, they will give Khao Phichaphagaya (agricultural crops including rice, corn, bananas and sugar cane harvested from the monastery land) and perform the Sia Kha Hua ritual (donations for maintaining the monastery) under the protection of Chao Huen Sam (three guardian spirits) as a social controller.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

History of Sakon Nakhon : A Study of Stone Inscriptions

Assistant Professor Dr Surachai Chinnabutr

 

Faculty of Humanities and Social Science, Sakon Nakhon Rajabhat University

 

 

This article aims to study the history of Sakon Nakhon province. The author uses evidence from five stone inscriptions. The study indicates that Sakon Nakhon was originally located on the Nong Han side (Wat Phra That Choeng Chum), the residence of the Khmer, who live in Ban Tha Phra and Ban Phran Nu Yan. A drought lasted for seven consecutive years. Most of the Khmer people migrated back to their own country when the Khmer power was lost, Lan Xang Kingdom established itself and created a new town called Chiang Mai Nong Han. Later in the reign of King Rama I, Baan Chum Chum became a deserted place. The city of Kalasin led troops to the area of Ban That Choeng Chum, which is called Nong Han Luang. Later, King Rama I allowed the governor of Kalasin to take troops to the area, which is called Nong Hin Luang, and changed the name of the new town to Sakon Thavapee. In the reign of King Rama III, the name of Sakon Thavapee was changed to Sakon Nakhon. This study reflects the development of Sakon Nakhon in the past where many people have lived. It appears that Sakon Nakhon still has many ethnic groups present.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

The Mural of Sinxay Walking in the Forest : Through the Worldly Struggle to the Discovery of Buddhist Path

Assistant Professor Dr Songwit Pimpakun

 

Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University

 

 

The study of Sinxay murals as cultural heritage inheritance with respect to aesthetics and the relationship to the Isan community from the past to the present was conducted on a total of 13 temples in the Northeast.

 

The study found that Sinxay literature has been popular with the Isan community. Here, it is believed that the Sinxay epic is about a past life of the Buddha. Thus, the story has been most reproduced in the form of murals as compared to other common stories in Isan. The stories, such as Vessantara, Phra Malai and other stories in Buddhism, are painted on the walls of the sim, the temple’s congregation hall, which is a sacred area. The purpose is to celebrate faith in Buddhism, to build charisma and to be used as a channel to promote Buddhism. The murals of Sinxay were also found to be used as an image of religious places to make both the temples and communities look beautiful and glorious. The most popular scene used in mural paintings is “Sinxay on a Jungle Walk” as it is the most decorated scene with all type of adventure stories able to attract the audience and provide all the aesthetics. In particular, the battle of the protagonists, Sinxay, Sang and Siho, with the giant Xuang snake, Kandan giant, Chatthanta elephant, the four giants, Khini giant, Kumphan giant and the naga, as well as the Kinnaree scene, where the painter freely and fully expresses himself, are the most decorated. However, many temples were found to not offer every single type of adventure stories because of limited space. These temples typically have several stories together with Sinxay, such as the episode of Sinxay fighting the Kumphan giant, the scenes of the Nariphon, giant Xuang snake, the Wising Tree, and the Kinnaree. The mural of when Sinxay is walking in the forest in various temples are presented in different ways depending on the view and interpretation of the painter, as well as the community’s faith and participation, without any fixed format, but emphasizing  the expression of manners, skills and imagination of each painter.

 

It is concluded that the murals of Sinxay have a longstanding relationship with the Isan community from the past to the present. They have played a significant role as a channel to teach Buddhism so people can easily understand. The murals of Sinxay are considered as one of the few aesthetics aspects from the past that have shaped, inspired and linked the world and Buddhism in a harmonious way. Currently, the scene of Sinxay walking in the forest has been adapted to a wide range of uses and purposes through new interpretations, such as the introduction of local cultural identities, as well as the promotion of cultural space for tourism. The murals of Sinxay in a contemporary context have been transformed into an object for development through a cultural consumption system that reduces local spiritual values to create new values through the state’s development policy.

Beautic Judgement of Mural Painting in Buddhist Philosophy

Assistant Professor Dr Homhuan Buarabha

 

Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

 

 

The objective of this qualitative research was to study the aesthetic concept of mural paintings and the aesthetic judgments of mural paintings in Buddhist philosophy. The methods for study were in-depth interviews and documentary investigation. The data was collected from Buddhist shrines and interviews, along with primary and secondary sources, such as documentaries and texts. Data was synthesized and presented by descriptive analysis.

 

The results of the study indicate that mural paintings in the Buddhist shrines refer to images associated with Buddhism, traditional beliefs and the life style of the villagers at all levels. The beauty of such mural paintings is the color, the light, space, shape and the language as a concept to convey an understanding and have the power to create feelings of desire, love, willingness and be admirable in the minds of the people. The criteria for judging the beauty of the mural paintings in Buddhist philosophy are two types: 1) The beauty of the Dharma as an objective value; and 2) the beauty of man, animal and nature based on the emotions and affection of each person. The aesthetics of mural paintings in Buddhist philosophy is a beauty that depends on the emotions caused by sensations. This is subjective, but can be developed as beauty in an objective manner.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Vidhi Naga : Local Wisdom and Worldly Philosophy in Bung Kan’s Wetland

Dr Kaeota Chantranuson

 

Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

 

 

This article aims to analyze the social meaning of the narrative power of the Naga who protects the waters of Nong Kut Ting and Bung Khong Long in Bung Kan province, considered as important wetlands in the lower Mekong Basin. This research was based on a variety of ecological culture local history and memories, along with an analysis of a various texts.

 

The study indicates that the mythical serpent known as Naga is a binding concept of love, lust, greed and conflict, adhering to the truth, fostering religious belief and promoting ethical humanity, as well as the relation between reincarnations. Although society has become modernized, people still narrate and reinterpret stories of Naga in different medium. Naga represents the heritage of culture and practice between humans and nature.

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "โลกกับธรรม : ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน" ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)