Pintu Gerbang (ปินตู เฆอรบัง) สำเนียงท้องถิ่นจะอ่านว่า ปินตู เฆอรแบ เป็นซุ้มประตูขนาดใหญ่ บางคนแปลว่าเป็น “ประตูชัย” ที่หมายถึงชัยชนะของสมาชิกชุมชนที่ช่วยกันสร้างมันขึ้นมา

Pintu Gerbang มักจะสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น วันฮารีรายอ หรือมหกรรมกีฬาตาดีกา ปินตูเฆอรแบ จะสร้างโดยสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน และสร้างด้วยวัสดุที่หาได้จากชุมชน อย่างพวก ไม้ไผ่ ใบจาก ใบมะพร้าว กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว ไม้ซุง สังกะสี เศษเหล็ก วัสดุจากท้องทะเล ก่อรูปขึ้นมาเป็นประตู บางหมู่บ้านจะสร้างที่ประตูมัสยิดประจำหมู่บ้าน บางที่จะสร้างตรงที่ทางเข้าหมู่บ้าน ทรงปินตูเฆอรแบ จะเป็นทรงมลายู เป็นการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมลายู หมู่บ้านไหนที่มีปินตูเฆอรแบก็ยังแสดงให้เห็นว่าหมู่บ้านนั้นมีความสามัคคีในหมู่สมาชิกชุมชน

ช่วงสิบปีหลังมานี้ การสร้างปินตูเฆอรแบ กลายเป็นวัฒนธรรมที่ทุกหมู่บ้านต้องทำ แม้กระทั่งในชุมชนเมือง โดยจะทำในช่วงกลางคืนของเดือนรอมฎอนเพื่อต้อนรับเทศกาลฮารีรายอ มีการประกวดภายในอำเภอ จังหวัด และทั่วสามจังหวัด ชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนจะมาช่วยกันทำตอนกลางคืนจนถึงเวลาอาทิตย์ขึ้น บรรยากาศในชุมชนตอนกลางคืนก็จะคึกคัก

ซุ้มประตูสร้างเพื่อปัจจัยทางศาสนาและการเมือง เพื่อตอนรับแขกบ้านแขกเมือง เพื่อเทศกาลและเฉลิมฉลองในชัยชนะ  เพื่องานพิธีสมรสเปรียบเหมือนการเริ่มต้นของชีวิตคู่  ในอดีตแต่ละบ้านทำของตัวเอง โดยนำองค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของต้นมะพร้าวมาใช้ เช่น กากมะพร้าว ใบมะพร้าว มาประดับประดาอย่างมีศิลปะ เป็นรูปโค้งมน ในชุมชนใหญ่จะทำขนาดใหญ่มาก แต่ละพื้นที่จะสร้างสรรค์แบบไหน เพื่อสะท้อนเอกลักษณะของชุมชน (https://www.youtube.com/watch?v=az3mi1pG5jI)

(ภาพปินตู เฆอรบัน ในสมัยก่อน)
(ภาพ ปินตู เฆอรบัน บ้านสาคอ ตำบลท่าสาป สร้างเลียนแบบประตูวังจะบังติกอ)
(ภาพ ปินตู เฆอรบัง ปูโรง กรงปีนัง จังหวัดยะลา)
(ภาพ ปินตู เฆอรบัน บริเวณตลาดเก่า เมืองยะลา)
(ภาพ ปินตู เฆอรบัน ชุมชนจารุนอก จังหวัดยะลา  สัญลักษณ์ดอกชบา คือ ดอกไม้ประจำปาตานีในอดีต)