ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี

ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี หมายถึง ภาษามลายูที่พูดกันในบริเวณสามจังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และสี่อำเภอของสงขลา ได้แก่ นาทวี สะบ้าย้อย เทพา และจะนะ นอกจากนี้แล้ว บางชุมชนในชานเมืองกรุงเทพมหานครก็นิยมพูดภาษามลายูสำเนียงปัตตานี เพราะชุมชนดังกล่าวมีบรรพบุรุษมาจากปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกไปยังกรุงเทพตอนรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 เช่นที่ชุมชนท่าอิฐ จ.นนทบุรี ชุมชนคลองหนึ่งแก้วนิมิตร ชุมชนบ้านสวนพริกไทย จ.ปทุมธานี

ภาษามลายูปัตตานีมีชื่อเรียกหลายแบบ ได้แก่ ภาษามลายูตานิง ภาษายาวี สำเนียงคล้ายภาษามลายูท้องถิ่นกลันตัน ซึ่งเป็นภาษาย่อยของภาษามลายูมาตรฐาน หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกว่าภาษามาลายูกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี มีเพียงภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน และไม่มีตัวอักษร 

ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีมีเพียงเสียงพยัญชนะและเสียงสระเท่านั้น ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ คำพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นคำ 2 พยางค์ เช่นเดียวกับคำพื้นฐานของภาษาอื่นๆ ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตัวอย่างเช่น นาซิ – ‘ข้าว’, มาแก – ‘กิน’, ดูวิ – ‘เงิน’ เป็นต้น 

ภาษามลายูปัตตานีมีพยัญชนะเสียงยาวหรือการยืดเสียงพยัญชนะต้นของคำ ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงได้ นับเป็นลักษณะพิเศษของภาษานี้ ลักษณะเช่นเกิดจากการลดรูปคำให้เหลือจำนวนพยางค์น้อยลง ส่วนใหญ่จะเป็นการลดหน่วยเติมหน้าคำ ตัวอย่าง เช่น ตือลอ ‘ไข่’ ตือลอ ‘วางไข่’ บูงอ ‘ดอกไม้’ บูงอ ‘ออกดอก’ มาแก ‘กิน’ มาแก ‘กินเยอะ’

ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีสำเนียงค่อนข้างห้วน และห้าวกว่าภาษามลายูกลาง ศัพท์ส่วนใหญ่จะตรงกัน มีศัพท์เฉพาะถิ่นอยู่บ้าง และศัพท์ที่ตรงกันนั้นจะมีเสียงที่เป็นปฏิภาคกัน ตารางต่อไปนี้เปรียบเทียบการออกเสียงที่แตกต่างระหว่างภาษามลายูกลางและภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี

พยางค์ท้ายของภาษามลายูกลางเป็น -า ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีจะเป็น -อ เช่น

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
namaนามานามอชื่อ
apaอาปาอาปออะไร
silaซีลาซีลอเชิญ
berapaบราปาบราปอเท่าไร

พยางค์ท้ายของภาษามลายูกลางที่ลงท้ายด้วย -น (_n), -ง (_ng) และ -ม (_m) จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูป แ- (_ae) เช่น

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
petangปตังปแตเวลาเย็น
makanมากันมาแกกิน
jalanยาลันยาแลเดิน
malamมาลัมมาแลกลางคืน
senamanซือนามันซือนาแมออกกำลังกาย’
pisangปีซังปีแซกล้วย
simpulanซิมปูลันซิมปูแลข้อสรุป

พยางค์ท้ายของภาษามลายูกลางเป็น ไ- ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีจะเป็น -า

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
pakaiปาไกปากาสวม, ใส่
gulaiฆูไลฆูลาแกง
kedaiกไดกดาตลาด
misaiมีไซมีซาหนวด

เสียง  สะกดในภาษามลายูกลาง เป็นเสียง ง ในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
kainไกนไกงผ้า
tahunตาฮนตาฮงปี

เสียง  ในภาษามลายูกลางเป็นเสียง ฆฮ กล้ำกันในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
orangโอรังออแฆคน
mariมารีมาฆีมา

นอกจากนั้นคำ 2 พยางค์บางคำในภาษามลายูกลาง ตัดพยางค์หน้าเหลือเป็นคำพยางค์เดียวในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี เช่น

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
pergiเปอรฆีฆีไป
hendalkฮันดักเนาะต้องการ
dudukดูโด๊ะโด๊ะนั่ง, อยู่
amakอามะเมาะแม่

คำบางคำนิยมใช้ต่างกันระหว่างภาษามลายูกลางและภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี เช่น

คำศัพท์มลายูกลางออกเสียงมลายูท้องถิ่นปัตตานีออกเสียงคำแปล
Tuanตวนแดมอคุณ
Sayaซายาอามอผม, ฉัน

การเรียงคำในประโยคของภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี จะเหมือนกับภาษาไทย เพียงรู้ศัพท์ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี ก็สามารถผูกประโยคสื่อสารได้ เช่น

ภาษาไทยภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี
คุณชื่ออะไรแดมอ  นามอ อาปอ
คุณอยู่ที่ไหนแดมอ โด๊ะ ดานอ
คุณมีธุระอะไรแดมอ อาดอ กียอ อาปอ

ปัจจุบันนี้ชาวมุสลิมในจังหวัดยะลาที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ รับศัพท์ภาษาไทยเข้าไปใช้มาก เช่นเดียวกับที่ภาษาไทยถิ่นยะลารับภาษามาลายูท้องถิ่นปัตตานีเข้ามาใช้มากเช่นกัน มีหลาย ๆ คำที่ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีทับศัพท์คำภาษาไทย แต่ปรับเสียงให้ออกเสียงสะดวกขึ้น เช่น

ภาษาไทยภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี
ธรรมดาทามาดา
ตู้เย็นตูเย็ง
โทรศัพท์โทราสะ
โทรทัศน์โทราทะ
วิทยุวิทายุ
ประปาประปา
ประตูปีตู

ทุกวันนี้ภาษามลายูปัตตานีอยู่ในขั้นวิกฤต เยาวชนเริ่มไม่นิยมพูดภาษามลายูแล้วหันไปใช้ภาษาไทยในการสื่อสารแทน โดยเฉพาะเยาวชนที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่แทบไม่ต้องอาศัยภาษามลายูปัตตานีเลยในการใช้ชีวิต ทั้ง ๆ ที่การรู้ภาษามลายูปาตานีนั้นจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเชื่อมเข้าสู่โลกมลายู