จากการศึกษาของ สุธิดา ดอคอ, วราภรณ์ ทะนงศักดิ์, และนิสากร กล้าณรงค์ เรื่องภูมินามภาษาถิ่นมลายูที่พบในจังหวัดยะลา ได้จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ลักษณะภูมิประเทศ
- แหล่งน้ำ
- พืชพรรณ
- บุคคล
ตัวอย่างความหมายเฉพาะของนามทั่วไปภาษาถิ่นมลายูในจังหวัดยะลา ได้แก่
นามทั่วไปภาษาถิ่นมลายู | ความหมาย |
บูเก๊ะ | เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า บูกิต (Bukit) หมายถึงภูเขา ภาษาไทยรับเอามาใช้เรียกสถานที่หลายแห่งในภาคใต้ เช่น บ้านบูเกะบือราแง ตำบลอาช่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ภูเขาบูเก๊ะบูลือยอ ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสกับอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
บาโงย | สันนิษฐานว่าเป็นคำยืมมาจากภาษามลายู ใช้เฉพาะในจังหวัดยะลา นราธิวาส เป็นคำบอกลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขา บางทีเพี้ยนเสียงเป็น “บาโง” |
บือแน | ใช้เรียกพื้นที่ราบที่เหมาะแก่การทำเกษตร ซึ่งบือแนสามารถบ่งบอกว่าเป็นการทำนาได้ด้วย |
ตะโล๊ะ | บอกลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบโล่ง มีความหมายเดียวกับคำว่า “ทุ่ง” ในภาษาไทย |
เจาะ | หมายถึง “ธาร” ลำน้ำสายเล็ก ๆ บางทีใช้คำว่า “จาเราะ” |
อัยเยอร์ | สันนิษฐานว่าเป็นชื่อบอกแหล่งน้ำ ในอักขรานุกรมไทยระบุว่าหมายถึง “ห้วย” |
กูแบ | คูน้ำ |
ตันหยง | ห้วย |
เปาะ | พ่อ |
โต๊ะ | คำนำหน้าเรียกคนเฒ่าคนแก่ เช่น โต๊ะครู คือ ครูที่มีอายุมาก |
(อ้างอิง ภูมินามชื่อหมู่บ้านภาษามลายูในจังหวัดยะลา ของ สุธิดา ดอคา, วราภรณ์ ทะนงศักดิ์, นิสากร กล้า, ณรงค์ วารสารอินทนิลทักษิณสาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (พิเศษ) (2018) มกราคม -ธันวาคม)