การสร้างคำขึ้นใช้ในภาษาไทยถิ่นยะลามีทั้งการซ้ำคำ การซ้อนคำ และการประสมคำ เช่นเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีการสร้างคำเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐานอยู่บ้าง เช่น การซ้ำคำลักษณนาม ซึ่งเมื่อซ้ำกันแล้วจะทำให้มีความหมายได้ ๒ อย่าง คือ มีความหมายว่า แต่ละ และมีความหมายเฉพาะลงไปว่า แต่ละ….โต หรือ แต่ละ….เล็ก ก็ได้
การซ้ำคำลักษณนามเพื่อให้มีความหมายว่า แต่ละ เช่น
นาบิ้งบิ้งแพง | นาแต่ละแปลงแพงมาก |
ข้าวแกงชามชามเติบ | ข้าวแกงแต่ละจานโตมาก |
การซ้ำคำลักษณนามเพื่อให้มีความหมายเฉพาะลงไป แต่ละ….โต หรือ แต่ละ….เล็ก การซ้ำคำลักษณนามอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีคำอื่นตามหลัง จะให้มีความหมายว่าโตหรือเล็ก บางครั้งพบว่าถ้ามีเจตนาจะชมมักใช้ในความหมายว่า แต่ละ…โต ในทางตรงกันข้ามจะใช้ในความหมายว่า แต่ละ….เล็ก เมื่อต้องการจะติ เช่น
โลกเรียนนี้หน่วยหน่วย | ทุเรียนแต่ละผลโต (ใช้เมื่อต้องการชม) |
ทุเรียนแต่ละผลเล็ก (ใช้เมื่อต้องการติ) | |
ปลานี้ตัวตัว | ปลาแต่ละตัวโต (ใช้เมื่อต้องการชม) |
ปลาแต่ละตัวเล็ก (ใช้เมื่อต้องการติ) |
คำประสมที่เรียงลำดับคำสับที่กับภาษาไทยมาตรฐาน เช่น
ภาษาไทยมาตรฐาน | ภาษาไทยถิ่นยะลา | |
ข้าวตัง | เป็น | ตังข้าว |
หลวงพี่ | เป็น | พี่หลวง |
เลือดออก | เป็น | ออกเลือด |
คำประสมที่ใช้คำบางคำนำหน้าเพื่อเน้นความหมายเฉพาะถิ่น เช่น
แม่เริน | ตัวเรือนใหญ่ |
หัวส้อน | ส้นเท้า |
ทำแส | กระเง้ากระงอด |
ออกกาก | ซนจนเสียเด็ก |
โลกขวาน | ขวานเล่มเล็ก ๆ |
โลกกุ้ง | กุ้งตัวเล็ก ๆ |