คำที่ใช้ในความหมายต่างกันกับคำในภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยถิ่นยะลา | ประเภท | ความหมายและตัวอย่างประโยค |
กอง | ว. | มาก เช่น งานนี้คนมากอง |
กาก | สำ. | ออกกาก หมายถึง เหลือเดน |
กิน | ก. | บาด เช่น มีดกินมือ |
ก. | ไหม้ เช่น ไฟกินเริน | |
ว. | คม เช่น มีดนี้กินดี | |
แคระ | ก. | สะพาย เช่น เขาแคระย่าม |
จม | ก. | ดัก เช่น จมไหล (ดักปลาไหล) |
ก. | ท่วม เช่น น้ำจมหนน (น้ำท่วมถนน) | |
ก. | เปื้อนมาก เช่น เสื้อจมโคลน (เสื้อเปื้อนโคลนมาก) | |
จอก | น. | แก้วน้ำ |
น. | ถ้วย เช่น จอกชา (ถ้วยชา) | |
ลัก. | แก้ว เช่น น้ำ ๒ จอก (น้ำ ๒ แก้ว) | |
เข็ด | ปวด, เมื่อย เช่น เข็ดขา เข็ดเอว เข็ดคอ | |
ยัง | ก. | มี, มั่งมี เช่น ยังเนี้ย |
น. | ช่อดอกรองหมากหรือมะพร้าวที่ยังอ่อนอยู่ |
คำที่บ่งบอกถึงความห้าวและห้วนของภาษาไทยถิ่นยะลา
ภาษาไทยมาตรฐาน | ภาษาไทยถิ่นยะลา |
ตำ – ตำน้ำพริก | ทิ่ม – ทิ่มน้ำพริก |
ทิ้ง – เอาขยะไปทิ้ง | ทุ่ม – เอาหยะไปทุ่ม |
เตะ – นักมวยคนนี้เตะเก่ง | ถึบ – นักมวยคนนี้ถีบเก่ง |
น้ำจิ้ม | น้ำจุ้ม |
น้ำพริก | น้ำซุบ |