การถ่ายถอดและการปริวรรต องค์ความรู้ทางยาจากใบลานและพับสา และการนำมาใช้ประโยชน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด  

 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

องค์ความรู้ในใบลาน และพับสา จากแหล่งในภาคเหนือได้ถูกนำมาปริวรรตและวิเคราะห์ พบว่าตำรับยาประกอบขึ้นจากตัวยาหลากชนิด ได้แก่พืช สัตว์ และแร่ธาตุ แบ่งรูปแบบวิธีปรุงยาตามลักษณะการใช้ยาเป็น 34 รูปแบบ ทุกส่วนของพืช นำมาใช้เป็นยาได้ คุณสมบัติของพืชจัดแบ่งได้เป็น ยาร้อน ยาเย็น และ ยาเสมอ พบว่าตำรับยาที่มีกล่าวถึงมากในใบลานและพับสาได้แก่ ยาแก้ 5 ต้น ยาตัสสมูล  การวินิจฉัยโรคใช้หลักของการวิเคราะห์ธาตุ โดยพิธีกรรมมีบทบาทสำคัญในการรักษา เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย นอกจากนี้ พิธีกรรมยังใช้ในการเก็บตัวยาและการปรุงยา ศาสนายังนำมาใช้ในการอธิบายสาเหตุของการเจ็บป่วย

 

การถ่ายถอด และการปริวรรตตำรายาล้านนาจากใบลานและพับสา ได้ดำเนินการถ่ายทอดสู่อนุชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ถึงภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเนื้อหาในส่วนตำรายา และวิธีการศึกษา ได้ถูกจัดทำเป็น อิเล็คโทรนิคบุคส์ในเวบไซด์  www.thrai.sci.ku.ac.th. โดยหมอพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และ ลำพูน ได้อุทิศตำรับยา จากใบลานและพับสา ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย มอบให้เป็นตำรับยาแห่งชาติจำนวน 200 ชนิด จากการศึกษานี้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ดั้งเดิมของยาแผนโบราณล้านนาโดยเฉพาะด้านเภสัชศาสตร์เพื่อเรียนรู้และฟื้นฟูการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นภาคส่วนของการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อประโยชน์ต่อการสาธารณสุข อย่างไรก็ตามการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานเต็มรูปแบบและมีศักยภาพยังคงเป็นสิ่งจำเป็น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)