พิธีกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่: การดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลงภายใต้อิทธิพลของสังคมโลกาภิวัตน์

ดร.สุวิภา จำปาวัลย์ และ ดร.ชัปนะ ปิ่นเงิน

 

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

การศึกษาเรื่องพิธีกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ในการดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัฒน์ เพื่อรวบรวมความรู้จากพิธีกรรมแก้ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ ด้วยการศึกษาเอกสารโบราณประเภทพับสาที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview Guideline) และการสนทนากลุ่ม (Focus Groups Discussion Guideline) ในกลุ่มผู้รู้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพิธีกรรม กลุ่มชาติพันธุ์ละ 10 คน รวมจำนวน 30 คน

 

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน และไทใหญ่ ในสังคมชนบทที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท มีสภาพความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ของเครือญาติอย่างใกล้ชิด ยังคงความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” อย่างคล้ายคลึงกัน มีพิธีเรียกขวัญเมื่อชีวิตเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ เช่น มีเคราะห์ รับโชค การเปลี่ยนสถานะทางสังคม การสูญเสีย การประสบอุบัติเหตุ การเกิด การเจ็บป่วย เพื่อฟื้นฟูสภาพจิต องค์ประกอบของการจัดการประกอบด้วย ผู้ป่วย พระสงฆ์ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หมอขวัญ) ญาติพี่น้อง เครื่องประกอบพิธี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจจากพิธีกรรมและความเอื้ออาทรกันในเครือญาติ ทำให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการ "การรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (2017 Chulalongkorn Thai-Tai Heritage Forum: Healing and Herbal Medicine) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยและอาเซียนศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITAS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)