ภาษาไทยถิ่นใต้: ความหลากหลายและประสานกลมกลืน

อาจารย์ ดร.ฉันทัส ทองช่วย

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ       

 

 

บทความเรื่อง “ภาษาไทยถิ่นใต้: ความหลากหลายและประสานกลมกลืน” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอขอบเขต แนวแบ่งเขต ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความหลากหลายของภาษาไทยถิ่นใต้ ลักษณะความหลากหลายและประสานกลมกลืน

 

ผลการศึกษาจากผลงานวิจัยที่ปรากฏทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของภาษาไทยถิ่นใต้ได้ว่า หมายถึงภาษาไทยถิ่นที่ใช้พูดสื่อสารกันในเขตพื้นที่ตั้งแต่อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยตลอดลงไปจนถึงเขตพื้นที่รัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย พบแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นใต้กับภาษาไทยถิ่นกลางอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความหลากหลายของภาษาไทยถิ่นใต้ที่สำคัญประกอบด้วย ปัจจัยด้านสภาพภูมิศาสตร์ ปัจจัยด้านกลุ่มผู้ใช้ภาษา และปัจจัยด้านการรับอิทธิพลจากภาษาต่างๆ ที่มีผู้พูดกันอยู่ในเขตพื้นที่ ส่วนลักษณะของความหลากหลายและประสานกลมกลืนมีทั้งด้านเสียง ศัพท์ การเรียงลำดับของคำ และวัฒนธรรมการใช้ภาษา

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "บุหงารำไป: ความหลากหลายและประสานกลมกลืนของวัฒนธรรมภาคใต้" ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา กระทรวงวัฒนธรรม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ)