การตีความชาดกในคัมภีร์หลังพระไตรปิฎก

อาจารย์ ดร. พิสิทธิ์  กอบบุญ

 

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการตีความชาดกในคัมภีร์หลังพระไตรปิฎก โดยศึกษาจากคัมภีร์มิลินทปัญหา ในแง่แนวทางและวิธีการตีความชาดก รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับชาดกด้วย จากการศึกษาพบว่ามิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์ประเภทปกรณ์วิเสสที่มีสาระธรรมหลากหลาย รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวกับชาดกด้วย โครงสร้างและวิธีปุจฉา-วิสัชนาในมิลินทปัญหาสามารถกล่าวได้ว่ามิลินทปัญหาเป็นวรรณคดีแห่งการตีความ เพราะการปุจฉาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมณฑกปัญหา เป็นการสร้างคำถามที่มีลักษณะขัดแย้งกัน (Questions on Dilemmas) โดยนำคำสอนต่างบริบทมาเทียบเคียงกันเพื่อให้เกิดการตีความให้ถูกต้อง ส่วนการวิสัชนาโดยวิธีการใช้ภาพพจน์ก็เป็นวิธีหนึ่งของการตีความเพื่ออรรถาธิบายขยายความคำตอบให้กระจ่าง ในส่วนที่เกี่ยวกับชาดกนั้น มิลินทปัญหาได้นำเสนอปุจฉา-วิสัชนาอันเกี่ยวเนื่องกับชาดกในหลายมิติต่างทั้งเรื่องเล่า พุทธพจน์ และข้อคำสอน นอกจากนี้ยังใช้ชาดกเป็นส่วนหนึ่งของการตีความอรรถาธิบายพุทธธรรม การตีความในมิลินทปัญหาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในแง่สารัตถะและรูปแบบการนำเสนอตัวบทของการตีความ ซึ่งเป็นไปเพื่อขจัดความสงสัย และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาดกได้อย่างสมบูรณ์ในยุคหลังพุทธกาล 

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วัฒนธรรมชาดกในสังคมไทย" ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน–1 กรกฎาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)