ก่ำกาดำ: ความสัมพันธ์กับอรรถกถาชาดก ปัญญาสชาดก และชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุ

สายป่าน ปุริวรรณชนะ

 

นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย (คติชนวิทยา) 

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนิทานเรื่องก่ำกาดำซึ่งแพร่หลายอยู่ในกลุ่มคนไทยภาคเหนือและภาคอีสาน กลุ่มชาวไทพวน กลุ่มชาวไทเขิน และกลุ่มชาวลาว กับอรรถกถากุสชาดกในพระสุตตันตปิฎก สุวรรณสังขชาดกในปัญญาสชาดก และกุศราชชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุ เนื่องจากผู้วิจัยมีข้อสันนิษฐานว่า แม้นิทานเรื่องก่ำกาดำจะแตกเรื่องมาจากนิทานแบบเรื่องสังข์ทองซึ่งมีที่มาจากสุวรรณสังขชาดกในปัญญาสชาดก แต่กลับปรากฏร่องรอยหลายประการที่แสดงว่านิทานเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากอรรถกถากุสชาดก และกุศชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุ ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า นอกจากโครงเรื่องที่คล้ายกันแล้ว นิทานทั้ง 3 เรื่อง ยังมีรายละเอียดต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน และที่ต่างกันในลักษณะ “คู่ตรงข้าม” อันนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่าอรรถกถากุสชาดกและกุศชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุน่าจะเป็น “ที่มา”ของสุวรรณสังขชาดก จากนั้นสุวรรณสังขชาดกจึง “แตกเรื่อง”เป็นนิทานเรื่องก่ำกาดำสำนวนต่างๆ ทั้งนี้ในกระบวนการของการแตกเรื่องอาจได้รับอิทธิพลจากอรรถกถากุสชาดกและกุศชาดกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

 

 

(เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ "วัฒนธรรมชาดกในสังคมไทย" ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน–1 กรกฎาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย โครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (ENITS) สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)